Django Unchained

มกรา’13 กับหนังที่ได้ดู

01/01/13 – Virgin I Am รักแรกกระแทกจิ้น (อนุชิต มวลพรม/ ไทย/ 2555) – 2/5

     มองโดยองค์รวมหนังมันก็โอเคนะ แต่พอพยายามเจาะลึกลงไปมันกลายเป็นยิ่งรู้สึกเฉยๆกับหนังขึ้นมาซะงั้น อาจเพราะมันดูเหมาะดูควรดีแต่มันกลับไม่ได้ใหม่อะไร บางช่วยก็อยู่บนวาทกรรมเดิมๆ ตอนที่เราสนใจที่สุดคือตอนของนางเอกหนังอาร์ ชอบรูปลักษณะกับตัวบทของ แพร-ภิสารัตน์ วัชรคีรินทร์ มากๆ

01/01/13  – The Amazing Spider-Man (Marc Webb/ US/ 2012) – 1.5/5

     จริงๆไม่ต้องรีบ Reboot ก็ได้นะ แก่แล้วปรับหัวไม่ทัน ไตรภาคแรกยังคาอยู่ในหัวอยู่เลย ยอมรับว่ามันก็สนุกตามมาตาฐานอะนะแต่ก็กลับไม่ได้ให้ความรู้สึกแปลกใหม่หรือแตกต่างกับฉบับก่อนซักเท่าไหร่เลย ดูกล้าๆกลัวๆยังไงไม่รู้มันเลยไม่สุดและง่ายต่อการลืม

01/01/13 – American Pie Reunion (Jon Hurwitz, Hayden Schlossberg/ US/ 2012) – 3/5

     ชื่อหนังมันก็บอกแล้วว่าคือการ Reunion มันก็เลยเพาเราไปพบเจอเพื่อนเก่าๆอีกครั้ง ขนเอาตัวละครเก่าๆมาแบบยกทีมให้ได้ตลกและหายคิดถึงกับยุคทองของหนังติดเรตนิดๆพอน่ารักอันเฟื่องฟูเมื่อหลายปีก่อนซึ่งมันประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม

01/01/13  – You Are The Apple Of My Eye (Giddens Ko/ Taiwan/ 2011) – 3/5

     ประเทศไต้หวันทำหนังแบบนี้เก่งจริงๆอันนี้ยอมกับเรื่องน้ำเน่าแต่เสือกทำออกมาดีฉิบหาย จะให้นิยามง่ายๆพอเป็นภาพ มันคือหนังที่ทำให้เรานึกถึงอดีตอย่างแฟนฉันที่มาผสมความทะลึ่งทะเล้นแบบ American Pie และแน่นอนหนังรักไต้หวันยอมไม่มีวันขาดนางเอกน่ารัก จริงไหม?

02/01/13 – Stool Pigeon (Dante Lam/ HK/ 2010) – 4.5/5

     ดร่าม่าแอ็คชั้นจากประเทศไหนจะสนุกเท่าฮ่องกงเป็นไม่มี หนังสนุกมาก ตื่นเต้นมาก แถมยังพูดถึงห่วงโซ่ทางอำนาจได้น่าคิดดี ผู้บังคับบัญชาไปสู่ตำรวจแล้วไปจบที่เหล่านกต่ออีกทีที่เรายังเอามาแนบเคียงกับชนชั้นในสังคมได้อีกทอดหนึ่ง โอ้ยยย ฟินนนนน

     อนึ่ง เซียะถิงฟงเท่มาก! ส่วนก้วยหลุนเหม่ยก็เท่ฉิบหาย!!!

04/01/13 – Purple Butterfly (Lou Ye/ China, France/ 2003) – 5/5

     ก่อนที่จะมี Lust, Caution ของหลี่อันก็มีเรื่องนี้ของหลู่เหย่ที่ว่่าถึงชีวิต, ความรักและการต่อต้านญี่ปุ่นในต้นยุค 30 ที่ญี่ปุ่นบุกเซี้ยงไฮ้ก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง รวมไปถึงผลกระทบอันรุนแรงที่ตัวละครได้รับหลังจากนั้น หลู่เหย่ยังคงเก่งเหลือเกินในการเล่าเรื่องแบบพูดน้อยๆแต่ต่อยหนักๆ ฆ่าผู้ชมให้ตายด้วยภาพหม่นเศร้า เกรนแตกที่มากับดนตรีที่เพราะเสนาะหู หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังทุนสูงพอควรที่เห็นได้จากการสร้างเซี้ยงไฮ้ยุค 30 ออกมาอย่างอลังกาลและสวยงามรวมไปถึงการเคลื่อนกล้องที่ลื่่นไหลและไร้ข้อจำกัดมากกว่าเรื่องอื่นๆของเขา ที่มาช่วยเสริมอารมณ์ของหนังที่มักถ่ายแบบ Long-take ติดตามตัวละครตามสไตร์ของเหย่ให้ทรงพลังขึ้น

อนึ่ง ฝีมือจางซี่ยี่ในเรื่องนี้ปรากฏเด่นชัดเชิดฉายมากๆ

06/01/13 – Prince (Kookie V Gulati/ India/ 2010) – 3.5/5

     รู้สึกผิดกับตัวเองเหนือขณาที่เพิ่งจะมาได้รู้ด้วยตาตัวเองว่าหนังบอลลีวู๊ดมันไปไกลแค่ไหน พูดถึงเฉพาะหนังกลุ่มเมนสตรีมอย่างเดียวนะยังไม่รวมเหล่าหนังรางวัลอะไร เร็วๆนี้ได้ดูไปสองเรื่องถึงไม่ได้ชอบมากทั้งสองเรื่องแต่มันก็เข้าใกล้กับคำว่าเซอร์ไพร์สเพราะตื่นตาตื่นใจเเหลือเกินทั้งงานสร้าง, เอฟเฟกค์หรือการร้องเล่นเต้นระบำที่ไปไกลนอกเหนือจากการวิ่งข้ามเข้ากันแล้ว ขอตบกบาลตัวเองร้อยทีที่ยังริฟรีสหนังอินเดียอยู่แค่เพียงป่าเขาลำเนาไพร่ในพงรกร้าง ปั๊บๆๆๆๆๆๆๆ

     หนังว่าด้วยเรื่องราวของหัวขโมยฝีมือฉกาจนาม “ปรินซ์” ที่ตื่นขึ้นมาในเช้าวันหนึ่งพร้อมความทรงจำที่หายไป เรื่องราวที่เหลือก็คือการตามหาความทรงจำเหล่านั้นและช่วยโลกจากภยันตภัยที่อาจส่งผลกระทบต่อโลกได้ ความสนุกอย่างแรกคือการที่หนังเล่นกับความทรงจำที่หายไปได้อย่างสนุกฉิบหาย หักแล้ว หักอีก หักแล้ว หักอีกจนกูยอมศิโรราบเลย  ประการที่สองคือความเป็นฮีโร่ของพระเอก คือหนังไม่ปกปิดหมกเม็ดเลยว่าตัวเอกนั้นเอาความเป็นฮีโร่จากใครมาบ้างที่สะท้อนออกมาจากภาพโปสเตอร์ของเหล่าอเมริกันฮีโร่ในห้องลับของพระเอก อันนี้แอบฟินเล็กน้อยจนยอมให้หนังโยงจมูกและสนุกไปจนจบเรื่องเลย

อนึ่ง ฉันเริ่มหลงรักนางเอกอินเดียขึ้นมาแล้วซิ

07/01/13 – หนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (สมโพธิ แสงเดือนฉาย/ ไทย/ 2518) – 1/5

     หลังจากหนุมานไปพบกับ 7 ยอดมนุษย์แล้ว ปีถัดมาก็ตามติดผลของความสำเร็จนั้นด้วยการไปพบกับ 5 ไอ้มดแดงต่อเลย หนังมีแอบโกงโดยการใช้ฟุตเตจจากหนังเรื่องแรกในหลายๆฉาก หนังมันเล่าเรื่องต่อจากหนังยอดมนุษย์นั่นเลย หัวขโมยเศียรพระในภาคยอดมนุษย์กลายมาเป็นตัวร้ายในเรื่องนี้พร้อมกับเหล่าตัวร้ายอย่าง King Dark โดยหนังก็เดินไปในแนวทางเดิมคือการอวยความเชื่อและแนวคิดทางพุทธศาสนาแบบสุดขั้ว มีทั้งการพาเราไปดูนรก, ดึงเหล่ามนุษย์หัวสัตว์ต่างๆในนรกขึ้นมาเป็นตัวร้ายบนโลก จัดการเหล่าร้ายด้วยความรุนแรง(มีฉากตัดหัวเลือดสาดด้วยนะ ย้ำ! นี่คือหนังไอ้มดแดง!!!) ในนามของศีลธรรมอันดีที่มองว่ามันเหมาะสมแล้วกับพวกคุณธรรมต่ำ(คำๆนี้มันคือการกดคนด้วยใช่ไหม?) ดูไปก็คิดถึงหนังอย่างเคาท์ดาวน์ไป เป็นหนัง Propaganda ทางศาสนาแบบสุดขีดในคราบหนังเด็ก ที่พอมองย้อนกลับไปเมื่อยังเด็กก็น่าตกใจเหมือนกันนะที่เราโตมากับอะไรพวกนี้แบบไม่เนื้อรู้ตัว

08/01/13 – Men In Black 3 (Barry Sonnenfeld/ US/ 2012) – 2.5/5

     หนังไม่ได้เลวร้ายหรือแย่อย่างที่คิด ดูได้เพลินๆซึ่งมันก็คงทำได้ดีที่สุดของมันแล้วแหละกับหนังแบบนี้ในยุคสมัยปัจจุบัน หนังพยายามจะพาคนดูที่เคยผ่านหนังชุดนี้มาแล้วมาสนุกด้วยแต่ความน่าสงสารอยู่อย่างนึงของมันคือเราไม่ได้ผูกพันไอ้หนังชุดนี้มากเหมือนกับ American Pie มันก็ได้แค่ตามๆเรื่องไปจนจบ ออ! ชอบแอนดี้ วอลล์ฮอลในเรื่องนี้ กวนดี

14/01/13 – Amour (Michael Haneke/ France, Germany, Austria/ 2012) – 5++/5

     หนังเรื่องล่าของเสร็จพ่อฮาเนเก้ที่ไปคว้าปาร์มทองและลูกโลกทองคำปีล่า สุดมาได้ และคงต้องคว้าหนังต่างประเทศของออสการ์มานอนกอดอยู่แล้ว ในฐานะที่ติดตามงานของเสร็จพ่อมาหลายๆเรื่อง(แต่ก็ยังดูไม่ครบเสียที T_T)เราพบว่าหนังเรื่องนี้ค่อนข้างแตกต่างจากหนังเรื่องก่อนๆของเขาที่เพิ่ม เลเวลความละเมียดละไมให้มากขึ้นแต่ยังคงดูจริงและเจ็บปวดร้าวราน หนังพาเราเข้าไปพบกับความรักหลากหลายด้านและตั้งคำถามถึง Eternity Love ว่ามันมีจริงหรือไหม? ด้วยการพาผู้ชมเข้าไปตามติดคู่รักวัยดึกที่ฝ่ายหนึ่งกำลังจะตายจาก อันเป็นบทพิสูจน์กับคำถามที่ว่านั่น ความเจ็บปวดประการแรกคือการที่เราได้พบว่ารักแท้ของทั้งคู่มันเสือกอยู่คนละ มุมฝั่งที่เข้าใกล้กับเมื่อไหร่ก็เป็นเรื่องเมื่อนั้นตราบจนความอดทนจะหมดลง ซึ่งดันเป็นการหมดลงด้วยความรักด้วยซิ

     อีกสิ่งหนึ่งที่หนังตั้งคำถาม กับผู้ชมคือความรักมันเป็นเรื่องของใครบ้าง? มันเป็นเรื่องของคนสองคน? หรือจริงๆแล้วเป็นเรื่องปัจเจกส่วนบุคคลกันแน่? ฉากที่ดีมากๆคือฉากที่ตัวพ่อบอกกับลูกสาวประมาณว่า “เธอจะมายุ่งอะไรกับชีวิตเราทั้งสอง ในเมื่อเธอก็โตขึ้นและออกไปใช้ชีวิตของตัวเองแล้วและแทบไม่เคยกลับมาพบเจอ กัน” ตัวลูกสาวนั้นคือภาพแทนของคนชั้นกลางที่พยายามจะใช้สิทธิ์ตามความเชื่อของชน ชั้นที่ได้รับ (ที่เชื่อว่าเป็นสิ่งดีและควรทำ) แต่คำถามคือเรามีสิทธิ์นั้นจริงหรือในการเข้าไปข้องเกี่ยวกับความรักระหว่าง คนสองคน มันเลยกลายเป็นความรักที่มาเป็นตัวสะดุดให้กับอีกหนึ่งความรักและยิ่งเมื่อ ความรักมันอยู่คนละฝั่ง(ตามย่อหน้าแรกที่ว่าไป)ทุกอย่างมันก็ยิ่งลงเหวลึก และแตกร้าวเจ็บปวดเมื่อถึงฉากสุดท้าย

     อนึ่ง หากเราลองมองย้อนกลับไปในหนังทั้งหมดของฮาเนเก้ เราพบความแตกต่าง 2 อย่างในเรื่องนี้กับหนังเรื่องก่อนๆนั่นคือ:

     1. ความฝัน: นี่น่าจะเป็นหนังเรื่องแรกของฮาเนเก้ที่ตัวละครมีความฝันจริงๆ (แม้จะยังคงเป็นฝันร้าย) ความฝันบอกเหตุที่นำไปต่อยอดอีกทีใจฉากเซอร์เรียลก่อนจบอันอาจเป็นภาพฝันของ บทสรุป

     2. อิสระภาพ: นกพิราบในเรื่องน่าจะเป็นตัวแทนที่ดี นี่น่าจะเป็นหนังเรื่องแรกที่เขามอบอิสระภาพให้แก่ตัวละคร แน่นอนอิสระภาพที่ว่านั้นก็คือความตาย (ปลดปล่อยพันธนาการทุกอย่าง) อันเป็นความตายในบริบทที่เรายังไม่เคยเห็นในหนังของเขา (บริบทในด้านสว่าง)

     ในฉากสุดท้ายของหนังที่ทุกอย่างผ่านไปแล้ว หนังจงใจตั้งกล้องในตำแหน่งที่แปลกตาและต่างออกไปจากช่วงเวลาก่อนหน้าพร้อม ใช้เลนส์ภาพกว้างที่ให้ความรู้สึกเว้งว้างเปล่าเปลี่ยวดั่งภาพฝัน อิสระภาพโบยบินออกไปนอกหน้าต่างแล้ว รอต้อนรับลูปความรักอันใหม่ที่จะมาในไม่ช้า

     ปล. กราบตีนเอ็มมานูเอล ริว่า รัววววววววววว

15/01/13 – Silver Linings Playbook ( David O. Russell/ US/ 2012) – 4/5  –> 5/5

     เอาเข้าจริงมันก็คือ Little Miss Sunshine ของปีนี้ที่เป็นหนังเล็กๆฟีลกู๊ดแบบที่ออสการ์ชื่นชอบเพื่อเอามาต่อกร(แบบไม้ประดับ)กับเหล่าหนังเขี้ยวลากดินทั้งหลายและโดยส่วนตัวเราไม่ค่อยถูกจริตกับหนังของรัสเซลล์เท่าไหร่นัก อย่าง The Fighter เมื่อสองปีก่อนก็มาในแนวเดียวกัน เป็นหนังเล็กๆและฟีลกู๊ดเหมือนๆกัน เด่นที่นักแสดงเหมือนๆกันแต่ดูแล้วก็อบอุ่นประเดี๋ยวประด๋าว หลังจากนั้นก็จำอยู่ได้แค่ไม่กี่ฉาก

     กระนั้นก็ตาม อย่าเพิ่งมองหนังว่าด้อยค่า เรายอมรับว่าหนังมันถึงพร้อมในการสร้างความบันเทิงและมีอะไรให้ได้รู้สึกแกมความน่ารักกับเรื่องราวของคนไม่ปกติสองคน คนสองคนที่มีแผลเป็นอันส่งผลกระทบรุนแรงต่อชีวิต คนสองคนที่ได้มาพบกันแล้วมาเติมเต็มกันและกัน ฟังดูยี้มากแต่เราชอบที่มันคนหนึ่ง (แพทริค) พยายามต่อต้านความบ้าของตัวเอง พยายามปกปิดความรู้สึกลึกๆภายในของตัวเอง (ซึ่งก็ทำไม่ค่อยจะได้) แต่เสือกไปว่าคนอื่นว่าบ้ากว่าเพียงเพราะเธอ(ทิฟฟานี่)เป็นคนเปิดเผยทุกสิ่งทุกสิ่งที่อยู่ในใจและรู้ตัวเองดีว่าต้องการอะไร โดยส่วนที่ทำให้หนังมันน่ารักก็คือไอ้คนไม่ปกติสองคนนี้มันดันรักกันแต่เสือกปิดกันไว้ แล้วมันก็เดินไปตามสูตรว่าความรักเป็นของคนทุกคน (อันหมายความรวมไปถึงความรักของเพื่อนและครอบครัวด้วยนะ) จะว่าไปมันก็คืออีกขั้วหนึ่งด้านไกลๆของ Amour

     ยอมรับตามตรงว่าระดับความชอบของเราจะลดน้อยลงไปเป็นเฉยๆทันทีหากหนังเรื่องนี้ไม่มีน้องเจน บอกตามตรง การมีน้องเจนทำให้หนังเรื่องนี้ดู “มีอะไรมากๆ” สำหรับเรา (ส่วนตัวฉิบหายเลย) เราชอบฉากเปิดเปลือยความรู้สึกและระเบิดอารมณ์ในร้านอาหารฉากนั้นและแน่นอนฉากการเต้นรำกับพี่เบรดที่ทำเอาหลับฝันดี (แม้ว่าจะทำให้นึกไปถึงฉากประกวดธิดาหนูน้อยใน LMS ก็ตาม)

     เอาเป็นว่าใครชอบหนังฟีลกู๊ด นี่คือหนังสำหรับคุณ หรือใครอยากดูการแสดงดีๆ เรื่องนี้จัดมาอย่างเต็มที่นอกจากน้องเจนแล้ว เรายังมีพี่เบรด ป๋าเดอนิโร ป้าแจ็คกี้ ที่มาแบบไม่น้อยหน้าใคร

18/02/13 ขอรีเกรดใหม่หลังจากได้ดูบนจอใหญ่พร้อมการเฮฮากับคนร่วมโรงและยืนยันคำเดิมครับว่า “เจนนิเฟอร์ ลอว์เรนซ์”

15/01/13 – คนกินเมีย (ดอกดิน กัญญามาลย์/ ไทย/ 2517) – 3/5

     ยังไม่เคยดูหนังของอาดอกดินเลยซักเรื่อง (ในจำนวนหลายสิบเรื่อง…น่าเศร้าใจ T-T) เรื่องนี้คือเรื่องแรก หนังให้ความรู้สึกแปลกประหลาดดี มันบันเทิงสีลูกกวาดที่ให้รสสัมผัสหลากหลายเหลือเกิน ครบรสสไตร์ละครไทย สนุกและเพลินดี

16/01/13 – Beasts of The Southern Wind (Benh Zeitlin/ US/ 2012) – 5/5

     หนังเก๋เหลือเกิน (กล่าวด้วยน้ำเสียงชื่นชมนะ) แรกเดิมทีเรานึกว่ามันจะเป็นหนังเด็กรักษ์โลกสดใส แต่เปล่าเลยเพราะเอาเข้าจริงประเด็นของหนังมันไปคนละทางและหม่นมัวกว่าที่คิดไว้มากๆ ความเยี่ยมของมันคือหนังใช้วิธีการเล่าเรื่องด้วยฟีลลิ่งแบบเทพนิยายเคล้าภาพฝันผนวกความเซอร์เรียลมาเป็นสื่อกลางในการนำพาความหม่นสีดำเหล่านั้นสู่ผู้ชม แต่กลับสามารถตอกย้ำความหมายและความเป็นจริงในโลกได้อย่างรุนแรง ทั้งเรื่องของชนกลุ่มน้อยที่มองด้วยมุมมองของพวกเขาเองจริงๆ (ไม่ใช่ในมุมมองของคนเมืองที่สามารถพบเห็นได้ในหนังหลายๆเรื่อง) รวมไปถึงประเด็นครอบครัวที่ทำเอาเรายอมศิโรราบโดยดุษฏี ที่สำคัญเจ้าหนูน้อย Quvenzhané Wallis จะอยู่ในใจไปอีกนาน (ตอนนี้ให้ตีคู่มากับเอ็มมานูเอล ริว่าเลย)

17/01/13 – Argo (Ben Affleck/ US/ 2012) – 3.5/5

     เป็นหนังเรื่องแรกของพี่เบนที่เรามีโอกาสได้ดู (ตบกบาลตัวเองแรงๆหนึ่งที) ฉะนั้นจึงไม่มีประสบการณ์ร่วมใดๆกับการกำกับของพี่เบนมาก่อนเลย แต่ขอบอกว่าดูเรื่องนี้จบแล้วอยากบังคับตัวเองให้ไปหาหนังเรื่องก่อนๆที่พี่แกกำกับมาดูแบบด่วนที่สุด

ความรู้สึกหลังดูจบคือหนังมันอวยอเมริกาเหลือเกินแล้วก็ผลักอิหร่านเป็นผู้ชั่วช้าไป มีการแขวะตัวเองบ้างนิดหน่อยพอให้มันดูไม่สุดโต่งเกินไปนัก แต่มันมาสะกิดเราอยู่อย่างคือการเฟคหนังไซไฟขึ้นมาเพื่อใช้ในการปฏิบัติการระดับชาติที่เกิดขึ้นในหนัง(และเรื่องจริงด้วย) ส่วนตัวหากมองด้วยสายตาปัจจุบัน(ซึ่งอาจเป็นสายตาของเราเพียงคนเดียวนะ)เรามองและแทบจะให้ค่าหนังไซไฟเหล่านั้นในยุคนั้นเป็นหนังชั้นรองเกรด B (หมายคือเอาสายตาปัจจุบันของเราไปมองหนังไซไฟในยุคของหนัง) แล้วพอหนังเรื่องนี้มันมาฉายในเวลาปัจจุบันเราเลยรู้สึกว่ามันเล่นแรงจังเลยว่ะ

หนังลุ้นระทึกดีโดยไม่จำเป็นต้องโฉ่งฉ่างซึ่งอันนี้ต้องยกเครดิตพี่เบนไปเลยเต็มๆ ยิ่งช่วงท้ายนี่ลุ้นดี (แต่ไม่เอาฉากรถวิ่งไล่เครื่องบินได้เป่าอะ?)

ปล1 ได้ข่าวว่าอิหร่านจะทำหนังเพื่อตอบโต้หนังเรื่องซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ

ปล2. ฉากจำส่วนตัวมากๆคือฉากที่แม่บ้านของสถานฑูตแคนาดาลี้ภัยไปอิรัก มันรุนแรงเหลือเกิน

19/01/13 – ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ (สมโพธิ แสงเดือนฉาย/ ไทย/ 2517) – 2/5

     พบเจอและดูในยูทูปซึ่งน่าจะเป็นเวอร์ชั่นที่ตัดต่อและพากษ์ทับใหม่อีกทีเพราะหนังฉายในปี 2517 แต่ดันมีการพูดถึงเรื่องการเมือง ทุจริตคอรัปชั่น วิกฤษเงินกู้มิยาซาว่ารวมไปถึงเศรษฐกิจพอเพียง (WTF!!!) ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากหนังฉายทั้งนั้น หรือไม่ก็เริ่มมีการพูดถึงจริงๆจังๆหลังจากหนังฉายไปนานแล้ว มันเลยดูผิดฝาผิดตัวและต่างจากอีกหนังในแนวเดียวกันที่ฉายในช่วงเวลาใกล้ๆกันอย่างหนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (2517) กับหนุมานพบ 5 ไอ้มดแดง (2518) พอควร โดยที่สองเรื่องหลังไปเน้นเรื่องศาสนาพุทธเป็นหลัง (มีสองวีดีโอ อันแรก 7.35นาที http://www.youtube.com/watch?v=0Gw6p6Lbgpo, อีกอัน 37.34 นาที: http://www.youtube.com/watch?v=PSrorU4o-0Q ทั้งสองวีดีโอไม่ได้ต่อเนื่องกันและมีการตัดให้สั้นลงจากความเป็นจริง)

     ตั้งข้อสังเกตุว่าการพากษ์ทับน่าจะอยู่ในช่วงวิกฤษการเงินของไทย (2539-2541) หรืออาจหลังจากนั้นไม่นานเพราะการพากษ์นี่เล่นกับประเด็นเงินกู้มิยาซาว่าอย่างสนุกสนาน โดยล้อกับความขัดแย้งของยักษ์จากไทยและจัมโบ้เอจากญี่ปุ่นในตอนต้น ก่อนที่จะมาจูบปากช่วยเหลือกันในช่วงท้าย อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับการบูมของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพอดี ดังนั้นแล้วมันเลยกลายเป็นหนังฮีโร่แบบไทยๆที่จับพลัดจับพลูไปบันทึกเศรษฐกิจและแนวคิดในยุคนั้นไปแบบงง…เอวัง

19/01/13 – Due West: Our Sex Journey (Mark Wu/ HK/ 2012) – 3.5/5

     China 3D เข็น Erotic 3D ออกมาเป็นเรื่องที่สองโดยครั้งนี้มันไม่ได้หลุดโลก ต่ำตมและไกลสุดกู่เหมือน Sex and Zen:Extreme Ecstasy หนัง 3D เรื่องก่อนของบริษัท หนังมันว่าด้วยเรื่องเพศของชีวิตชายคนหนึ่ง มันคือหนังอาร์ขายเซ็กซ์เพื่อรองรับตลาดของผู้ชายเป็นหลักแต่ผู้หญิงในเรื่องกลับเป็นผู้กุมอำนาจเหนือเพศชายไว้แบบเบ็ดเสร็จ อันนี้น่าสนใจดี ทั้งตัวแม่ที่เป็นใหญ่ที่สุดในบ้านหรือแม้แต่ตัวแฟนของพระเอกเอง คือมึงอยากมีเซ็กซ์แต่ถ้าเธอไม่ยอมมึงก็อด ดังนั้นแล้วสิ่งที่พวกผู้ชายในเรื่องทำก็คือการไปซื้อกิน (โดยข้ามไปเซินเจิ้นนู่นเลย) พอมันไปซื้อกิน มันเลยได้สลับอำนาจชั่วขณะ มีความสุขชั่วขณะ แต่พอกลับกันออกมามันเสือกรู้สึกทุกข์! ทุกข์ถึงขนาดที่ก่อนหนังจะจบมันตั้งคำถามตรงๆกับคนดูเลยว่าการเดินทางไปเที่ยวแบบนี้มันคือ ecstasy หรือ sin กันแน่? คือถ้าการจบแบบนี้อยู๋ในหนังเรื่องอื่นๆ (เช่น Sex and Zen:Extreme Ecstasy เป็นต้น) เราจะเกลียดหนังเรื่องนั้นมากๆ แต่พอมันมาอยู่ในหนังเรื่องนี้ที่มุมมองมันแตกต่างออกไปจากที่คุ้นเคย เป็นมุมมองของเพศชายนั้นแหละแต่ยกเพศหญิงให้สูงขึ้น มันเลยกลายเป็นหนังอาร์ที่น่าสนใจดี

     ปล. สงสัยจริงๆว่าไอ้สถานบริการในเซินเจิ้นในหนังมันมีจริงๆหรือเปล่า? หมายถึงบริการแบบเช็คลิสต์ดั่งในหนังอะนะ หุหุ

20/01/13 – Django Unchained (Quentin Tarantino/ US/ 2012) – 5+++/5

     ถึงเควนติน มึงยื่นตีนมาเถอะ กูจะจูบแบบถนุถนอมเลย สัด! หนังสนุกฉิบหาย ตลกฉิบหาย ซะใจฉิบหาย สนองความต้องการของกูได้แบบสุดติ่งที่สุด กี๊ดดดดดดดดดดดด

     คือถ้าว่ากันตามจริงหนังมันไม่ได้ดีและมีอะไรให้ฟินหนักเหมือน Kill Bill หรือ Inglourious Basterds หรอกแต่อย่างที่อาร์ต BDMD บอก การได้ดูหนังของเควนตินคือของขวัญพิเศษประจำปี หลังจากไปคารวะหนังจีนกำลังภายใน ไปบิดเรื่องนาซีในมุมมองใหม่ ครั้งนี้พี่แกกลับมาด้วยแนวทางการล้างแค้นอีกรอบแต่เป็นการล้างแค้นของคนผิวสีที่กระทำต่อคนผิวขาวในยุค 50  บิดประวัติศาสตร์อีกรอบในมุมกลับที่เล่นเอาคนผิวขาวตายห่มตายห่ากันเป็นเบือ! แม้ส่วนตัวจะไม่ได้ถนัดกับยีนของหนังคาวบอยสปาเก็ตตี้ที่ทารันติโน่เอามาเล่น แต่เราเพลินเหลือเกินกับสไตร์หนังของเควนตินซึ่งมาครบในทุกองค์ประกอบ (จะว่าไปคนที่ไม่ชอบหนังอาจเพราะเบื่อกับสิ่งเดิมๆเหล่านี้…หรือเปล่า?) อะไรที่เคยเห็นมันจัดเต็มมาหมด แถมเพลงประกอบก็เลิศ เอาเพลงคันทรี่มาใช้เล่าเรื่องแล้วเอาเพลงฮิปฮอป(ที่กำเนิดมาจากคนผิวสี)มาเป็นเพลงประกอบ

อนึ่ง ฉาก KKK นั้นยกให้เป็นฉากแห่งปีไปเลย สุดติ่งมาก

21/01/13 – Killer Joe (William Friedkin/ US/ 2011) – 5/5

     “เราไปฆ่าแม่เอาประกันกันเถอะ” เราในที่นี้คือลูกชาย, พ่อและลูกสาว แต่ไม่ต้องห่วงนะ นี่ไม่ใช่การสปอร์ย เพราะสิ่งที่เกิดหลังจากนั้นซ่อนเงื่อนและสุดกู่เกินคาดเยอะ

หนังเป็นตัวอย่างที่ดีในการประกาศว่าไม่ใช่ทุกครอบครัวในโลกหรอกนะที่จะ To be Number One ได้หมด

กราบนักแสดงทุกตัว เหี้ยห่าทุกตัว (คือคำชมอย่างจริงใจ)

ว่าแล้ว ไปกินไก่ KFC กันเถอะ!

22/01/13 – The Last Tycoon (Wong Jing/ China/ 2012) – 5+++/5

     เชย เช้ย เชย แต่เท่ห์ทุกฉาก! ฟินแม่งทุกซีน!! ออกจากโรงแถบจะเดินสโลโมชั่น!!!

     ไม่รู้ว่าการใส่การเมืองเข้มๆเข้าไปในหนังมันเป็นไปเพื่อตามกระแสหนังจีนในยุคหลังหรือเปล่าที่มักเล่นกับมุมการเมืองเยอะ (ในที่นี้คือการบุกรุกของญี่ปุ่นในยุค 30…อีกแล้ว) แต่ใครจะแคร์ว่ะ! หากว่ามันมีทุกอย่างที่เราคิดถึงในหนังแนวเจ้าพ่อฝั่งเอเชียในอดีต มันมีเรื่องเพื่อนพ้องน้องพี่ร่วมสาบานในแนวที่คุ้นเคยหลงใหล แถมแม่งยังเป็นหนังรักที่เอากูตาย อ๊ากกกกกก

     กราบแปดทิศกับทุกตัวละคร เรารักพวกท่านทุกคน คารวะ! แน่นอนลุงหงจินเป่าคือคนที่ทำให้เรื่องนี้สมบูรณ์แบบ…..BTW พี่โจวนี่ The Best จริงๆว่ะ คารวะ!!

ปล. ใครที่ฟินกับการถล่มโรงหนังใน Inglourious Basterds ล่ะก็เชิญมาฟินกับการถล่มโรงงิ้วในเรื่องนี้ได้เลยจ๊ะ

23/01/13 – Weekend (Jean Luc Godard/ France/ 1967) – 5+++++/5

     วายป่วง แสบสันต์ ร้ายกาจ กัดแหลกไม่ไว้หน้า สังคม การเมือง ทุนนิยม ภาพยนต์หรือแม้แต่มนุษย์เองก็โดนขยี้ขยำแบบไม่มีชิ้นดี หนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกว่าภาพยนต์เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและสามารถไปได้ไกลสุดหล้าจริงๆ มันแปลกประหลาดแบบไม่คุ้นชินด้วยเทคนิคแพรวพราว การเคลื่อนกล้องเอย ลองเทคเอย การตัดต่อเอย การแทรกตัวหนังสือเอย เซอร์เรียลเอย แบล็คคอมมาดี้เอย โอ้ยยยยย รู้สึกโชคดีมากที่การดูหนังของโกดาด์ของตัวเองมันพีคขึ้นเรื่อยๆ ดูไป 5 เรื่อง เอาตายได้ทุกเรื่อง กราบบบ

     ว่าจะดูอีกรอบเก็บรายละเอียดอันมากมายอีกที ใครมีแผ่นซับไทยบ้างขอรบกวนหน่อยครับ ขอบคุณล่วงหน้า _/\_

24/01/13 – Fighting Fish ดุดวลดิบ (จุฬาลักษณ์ อิสมาโลน/ ไทย/ 2555) – 2/5

     หนังมันเดินทางสายการดีจัง แต่เป็นความกลางแบบกล้าๆกลัวๆนะ จะว่าไทยก็ไม่กล้า จะกัดฝรั่งก็กลัว เลยแก้ปัญหาด้วยการทำให้สองฝั่งมันมีน้ำหนักเท่ากันหมด ทำให้หนังมันไม่กล้าฉีกตัวไปเยอะเพราะกลัวมันจะเดินห่างออกจากเส้นตรงกลางนี้แล้วหันกลับไม่ได้ ส่วนฉากต่อสู้ถือว่าทำได้ดีนะเพียงแต่มันไม่ใหม่อีกแล้วล่ะ เว้นเสียแต่ฉากกึ่งลองเทคช่วงท้ายที่เราว่าดูดีกว่าในต้มยำกุ้งหลายเท่าตัวเลย

26/01/13 – Les Misérables (Tom Hooper/ US/ 2012) – 3/5

     อันเพราะเกลียด The King’s Speech มากในระดับเข้าไส้ การดูหนังเรื่องนี้ของเรามันเลยอยู่ในระดับปรามาสแบบสุดๆ ยิ่งเห็นแรงเชียร์และกระแสจากแหล่งต่างๆด้วยกำแพงกั้นมันเลยยิ่งสูง และด้วยเหตุผลขั้นต้นกระมั๊งที่ทำให้เรารู้สึกดีกับหนังได้บ้างอาจด้วยเพราะความสดใหม่ในความเป็นหนังเพลงที่บันทึกเสียงสดขณะถ่ายทำแล้วก็ร้องกันมันทั้งเรื่องเลย ยอมรับตามตรงเลยว่าเราตื่นตากับมันมากๆ ยอมรับว่าช่วง 40 นาทีแรกของหนังเอาเราอยู่จริงๆ 40นาทีแรกที่ว่าคือตั้งแต่เปิดเรื่องไปจนถึงจบเพลง I Dreamed A Dream ของแอน ฮาร์ทอเวย์ที่ทำเอาน้ำตาซึมเลย แต่เดี๋ยวก่อน เพราะหนังมันไม่ได้ยาวแค่ 40 นาที มันล่อไปตั้ง150นาที ดังนั้นเมื่อเราไปถึงจุดพีคที่สุดของหนังแล้ว หลังจากนั้นก็คือการค่อยๆล่วงหล่นลงมาอย่างช้าๆ ช้าๆ ด้วยการพยายามเดินเครื่องแบบ 40นาทีแรกนั้นแลแต่กลับไม่ได้ให้ผลที่ดีเลย จะมีกราฟคงๆอยู่บ้างก็เมื่อซาแมนธา บาร์คสปรากฏตัว (เราชอบเธอลองจากฮาร์ทอเวย์ในเรื่องนี้) แต่หลังจากนั้นมันก็เหมือนแสงเทียนที่ค่อยๆขาดอ๊อกซิเจน รอการมอดดับเหลือเพียงกลุ่มควันจางๆค่อยๆลอยหายไป

     อนึ่ง พี่รัสเซล โครว์ ไม่ไหวจริงว่ะครับ

29/01/13 – King Corn (Aaron Woolf/ US/ 2007) – 3/5

     สารคดีเกี่ยวกับอาหารการกิน(อีกแล้ว)อันว่าด้วยข้าวโพดล้วนๆ พืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของอเมริกาอันเป็นหนึ่งในส่วนประกอบในอาหารเกือบทุกชนิด(ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างการเป็นอาหารให้เหล่าปศุสัตว์) หนังพาผู้ชมเข้าไปลงลึกถึงระดับการเพาะปลูก (ที่ผู้สร้างลงทุนเช่าที่ 1 เอเคอร์เพื่อปลูกข้าวโพดด้วยระยะเวลา 1 ปีเต็ม) อันไปสะท้อนปัญหาของเหล่าฟาร์มเมอร์ในวงกว้างว่าเหตุใดพืชเศรษฐกิจหลักที่การผลิตสูงมากและได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลแต่กลับไม่ก่อรายได้ที่เหมาะสมกับเหล่าเกษตรกรเลย (ฉากเจ็บแสบของหนังคือกองเมล็ดข้าวโพดขนาดเท่าภูเขาย่อมๆ) โดยที่ยิ่งสืบลึกลงไปในแต่ละเดือนๆก็พบว่าปัญหามันก่อร่างตั่งแต่การนโยบายเศรษฐกิจของรัฐที่ไปโฟกัสกับระบบอุตสาหกรรมมากกว่าระบบเกษตรแบบดั่งเดิม ดังนั้นแล้วการแก้ปัญหาของเหล่าเกษตรกรคือลดคุณภาพของข้าวโพดลงเพื่อเพิ่มผลผลิตและรายได้อันส่งผลสุดท้ายกับผู้บริโภคในรุปแบบของน้ำตาลข้าวโพดและอาหารฟาร์สฟู๊ด

     มันคืออการต่อยอดจากหนังจำพวก “เราเป็นในสิ่งที่เรากิน”  อย่าง Super Size Me (2004) แต่เหมือนจะโดนขโมยซีนด้วย Food, Inc. (2008) ที่ฉายในปีถัดมา (และเรายังไมได้ดู)

29/01/13 – Ai Weiwei: Without Fear or Favor (Matthew Springford/ UK/ 2010) – 5/5

     สารคดีจาก BBC ว่าด้วยชีวิตและผลงานของ Ai Weiwei ศิลปินหัวขบฏชื่อกระฉ่อนของจีน นำพาเราไปรู้จักกับชีวิตและแนวคิดของเขาต่อผลงานบางส่วนที่จบท้ายด้วยการใช้เวลา 2 ปีครึ่งไปกับการเพ้นท์เมล็ดทานตะวันร้อยล้านเมล็ดเพื่อเป็นตัวแทนประชาชนจีนในศิลปะที่ไปแสดงที่ L.A.

     กะว่าจะดูเพื่อเป็นออเดิร์ฟก่อนดู Never Sorry แค่นั้น แต่พอจบแล้วก็ต้องโค้งตัวกราบพี่แกไปทีและเคลื่อน Never Sorry ลัดคิวมาดูโดยไว

ดูหนังได้ที่นี่จ้า http://www.youtube.com/watch?v=FjfNF55hUZg

30/01/13 – Lincoln (Steven Spielberg/ US/ 2012) – 2/5

     ต้องขอโทษสปีลเบิร์กจากใจจริงที่ต้องขอยกให้หนังของแกเรื่องนี้รั้งท้ายในลำดับความชอบของบรรดาหนังเยี่ยมชิงออสการ์ปีนี้ (ที่ดูไปแล้ว 7 เรื่อง) ขออภัยจากใจจริง ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสุดซึ้ง

     หนังน่าเบื่อมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก แต่ก็เหมาะมากกับการนำมาเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่เล่นเอาข้าพเจ้าเปิดดิกในทุกๆนาทีพร้อมกับศึกษาประวัติศาสตร์ชาติอเมริกาไปในคราเดียวกัน โชคดีที่ไม่ได้ศึกษาหาอ่านประวัติศาสตร์ของอเมริกาในช่วงนี้ก่อนดู เพราะถ้าได้อ่านและศึกษาก่อนเราคงรู้สึกเบื่อมากกว่านี้แน่ๆ อ่านเองคิดภาพเองสนุกกว่าเยอะเลย

เอาเป็นว่าเพราะการแสดงและโปรดักชั่นเท่านั้นแหละที่ทำให้เราดูได้จนจบ แต่เอาจริงๆนะ เราว่าทอมมี่ ลี โจนส์เจ๋งกว่าพี่เดย์ ลูอิสว่ะ (ขออภัยพี่ท่านมา ณ ที่นี่ด้วย)