เจ้านกกระจอก

Film I’ve seen in December 2016

02/12/16 – เจ้านกกระจอก (อโนชา สุวิชากรพงษ์/ ไทย/ 2010) – 4/5

กะดูก่อน ดางคะนอง เพื่อเอาไว้เป็นภูมิคุ้มกันไว้หน่อย เป็นการดูซ้ำเพราะรอบแรกดูเมื่อเดือนที่แล้วตอนง่วงๆเลยแบลงก์มาก

แรกสุดคือเสียใจที่ไม่ได้ดูในโรง เสียใจมาก คือถ้าได้ดูตอนช่วงที่มันเข้าฉาย เราคงมองเห็นบริบทของหนังมากขึ้น

ชอบความพิศวงทั้งจากวิธีการเล่าสลับเวลาและการปะทะกันของเรื่องวิทย์อย่างการกำเนิดชีวิตและดวงดาวกับเรื่องความเชื่อแบบพุทธที่ส่งผลกระทบต่อทั้งตัวละครและสังคมไทยในช่วงเวลานั้น ความรู้สึกเหมือนตอนได้ดู สัตว์ประหลาด คือไม่ได้เข้าใจลึกซึ้งและเส้นเรื่องไม่ตรึงใจเท่ากับความรู้สึกที่มันค้างอยู่ในสมอง

ตอนจบสะเทือนจนอ่ำอึ้งจริงๆ

02/12/16 – เชือดก่อนชิม (ทิวา เมยไธสง/ ไทย/ 2009) – 1/5

เหตุผลที่เอามาดูก็เพราะที่เค้าว่ามันมีบันทึกเหตุการณ์ 6 ต.ค. ไว้นั้นแหละ แต่ก็เท่านั้นเพราะหนังไม่ได้สานต่อะไรเท่าไหร่

หนังมันพยายามยัดแบล็คกราวด์ให้ตัวละครมากเสียจนมันขาดมิติอื่นไปหมด กลายเป็นแค่ภาพด้านเดียวของผู้ถูกกระทำผู้น่าสงสาร ที่การทวิสต์ใดๆก็ไม่สามารถช่วยได้

 

03/12/16 –  ทอง (ฉลอง ภักดีวิจิตร/ ไทย/ 1973) – 3/5

เพราะชอบ ตัดเหลี่ยมเพชร ของอาฉลองมากๆ เลยดู แต่เสียดายที่เรื่องนี้มันไม่ถึงขนาดนั้น สนุกดีแต่ไม่ถึงกับว้าว

น่าสนใจที่มันเหมือนเป็นหนังชวนเชื่อต้านภัยคอมมิวนิสต์กับความพยายามอินเตอร์ของมัน (การรวมกลุ่มจากหลากหลายชาติ)

อนึ่ง หนังโป๊ดี และ กรุง ศรีวิไล หล่อสัดๆ

04/12/16 – Spartacus (Stanley Kubrick/ US/ 1960) – 4/5

ดีใจได้ดูหนังคูบริคในโรงใหญ่ สนุก ยิ่งใหญ่ อลังกาล

การได้ดูหนังเรื่องนี้ในตอนที่โลกกำลังทยอยกันหันไปด้านขวาอย่างในตอนนี้มันช่วยให้แมสเซจในหนังมันรุนแรงขึ้นจริงๆ ดูไปรู้สึกร่วมไปตลอด

จบเมโลได้โล่ห์แต่ถือว่าเอากันตาย

04/12/16 – Nocturnal Animals (Tom Ford/ US/ 2016) – 4.5/5

ยังไม่เคยดู A Single Man ของฟอร์ดแต่ดูเรื่องนี้แล้วคงต้องรีบหามาดู (ตลกดีที่ตอนแรกว่าจะดูในวันเดียวกัน แต่กลับพบว่าจำผิดเพราะแผ่นที่มีคือ A Serious Man ของพี่น้องโคแฮน ฮา)

หนังเนียบมาก เนียบในทุกส่วนจริงๆ แม้จะเล่าเรื่องสลับกันแต่ก็ไม่สะดุดเลย เลื่อนไหลมาก ดูลงตัวไปหมด เพลินจนรู้สึกผิดที่พอใจกับผลที่ตามมาของความผิดพลาดในอดีตของตัวละครและชอบไอเดียเรื่องการสักอดีตไว้ด้วยการเขียน

ในหนังมันมีงามศิลปะที่แปลกประหลาดดี ตั้งแต่งานคนอ้วนในตอนเปิดเรื่อง, ลาสตาฟที่ร่างกายเต็มไปด้วยลูกธนูหรือแม้แต่ภาพคนเล็งปืนไปยังอีกคนในทุ่งกว้าง ซึ่งงานต่างๆเหล่านี้นอกจากจะสะท้อนภาพของตัวละครแล้ว มันยังแสดงภาพชนชั้นที่เป็นอีกประเด็หนหนึ่งในเรื่องที่ตัวละครมันพูดกันบนโต๊ะอาหาร แล้วมันก็ส่งผลแรงๆกับตัวละครด้วยอีกทาง

04/12/16 – A Monster Calls (J.A. Bayona/ Spain, US/ 2016) – 3/5

เฉยๆ ไม่ได้สะเทือนอะไรมากมายแฮะ ถ้าหนังแนวนี้เรากลับชอบ Where The Wild Things Are มากกว่า (ทั้งนี้ทั้งนั้นก็คงขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ได้ดูด้วยแหละ)

อาจเพราะเราผ่านอะไรแบบคอเนอร์มาแล้ว ซึ่งก็รู้สึกแบบที่หนังมันบอกนั่นแหละในเรื่องการรับความเป็นจริง ใช่ว่ามันเจ็บในตอนแรก แต่พอผ่านมันมาแล้วเราก็พบว่ามันเป็นสัจธรรมธรรมดา

ส่วนที่ชอบที่สุดคงเป็นการที่มันพูดถึงความซับซ้อนของมนุษย์ในช่วงครึ่งแรกของหนัง

07/12/16 – Lust, Caution (Ang Lee/ US, China, Taiwan/ 2007) – 3/5

เอามาดูซ้ำในช่วงเวลาที่นานจากครั้งแรกหลายปีที่ก็ลืมทุกอย่างไปหมดแล้ว

มันดีมากทีเดียวที่จับเอาเรื่องความรักชาติมาร้อยเรียงกับเรื่องความความเป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยการเอาตัวรอด ความลุ่มหลงและการเอาชนะ เผยให้เห็นจุดดีจุดเลวของแต่ละสิ่งก่อนที่ทุกอย่างจะล่มสลายลงไปหมดเพราะการไม่อาจเข้ากันได้

แต่โดยรวมไม่ถึงกับชอบมาก เป็นงานของอังลี่ที่รู้สึกกลางๆเสียมากกว่า ทั้งนี้ทั้งนั้น ความดีงามที่เหลือทั้งหมดเราของยกให้ ถั่งเหว่ย

ปล. ซีนร้องเพลงน่าจะเป็นซีนที่ดีที่สุดของหนัง

10/12/16 – แฟนเดย์ (บรรจง ปิสัญธนะกูล/ ไทย/ 2016) – 4/5

– แฟนตาซีของคนขี้แพ้ ที่ขนาดได้แฟนตาซีทั้งที ยังเป็นได้แค่การแทนตัวเองด้วยคนอื่น เจ็บอะ

– เข้าใจละว่า ผู้ชายที่ดีเกินไป ทำไมผู้หญิงไม่เอา เพราะแม่งโง่ แต่เป็นคนโง่ที่น่าสงสารสัดๆ โง่มากจนถึงขั้นน่ากลัว

– ตายกับเรื่องความทรงจำที่หายไป เจ็บปวดรุนแรงมากๆๆๆๆ ทั้งในแง่ของการจดจำมันไม่ได้แต่ยังคงรู้สึกถึงมันได้ และในแง่ของผลมีเกิดขึ้นของตัวความทรงจำต่างๆเหล่านั่นที่นำพาเรามาจนถึงปัจจุบัน

– พี่โต้งทำหนังอยู่มือจริงๆ ต้องยอมทุกที

– มิว มิง มิว มิว มิว (พิมพ์ซ้ำ 50บรรทัด)

– ไม่มีเวลามาเขียนยาวๆ แต่อ่านที่พพี่จิตรเขียนแล้วเราชอบมากในเรื่อง การที่เรา “กลายเป็นคนที่ตัวเองเกลียด” เลยขอนำมาแชร์: https://www.facebook.com/Kafelme/photos/a.1505925316356347.1073741834.1503988563216689/1781499922132217/?type=3&theater

10/12/16 – Suicide Squad (David Ayer/ US/ 2016) – 2/5

ราบเรียบจังเลยวุ๊ย แบบราบมากมาย ทู่ๆแบบไม่คิดจะเหลาให้แหลมเลยซักนิด

มาก๊อต ร๊อบบี้ ในบท ฮาร์ลี่ ควินน์ แยกออกมามีหนังตัวเองน่ะถูกต้องแล้ว ที่เหลือควรเอาไปฝังกลบ (เห็นว่าอีเดดช๊อตจะมีด้วย ชีวิตมึงคลิเช่ฉิบหาย ไม่รู้ตัวเลยหรือ)

และส่วนที่ดีที่สุดไม่ใช่อ้ายอีตัวไหน แต่คือเพลงประกอบค่ะ // จบ

13/12/16 – ปั๊มน้ำมัน (ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์/ ไทย/ 2016) – 4/5

เป็นคนที่อยู่ในฝั่งที่ไม่ชอบพล๊อตหรือเส้นเรื่องของมันซักเท่าไหร่ ไม่อินเลยในเรื่องรักเรื่องรออะไรแบบนี้ ในส่วนนี้เรารู้สึกเหมือนหนังแฟนเดย์ที่เพิ่งได้ดูไปไม่นานในแง่ของความเจ็บปวดที่เป็นได้แค่ตัวแทนคนอื่นและเรื่องของคนที่มันดีเกินไป

แต่โชคดีที่หนังมันมีส่วนอื่นๆที่ดีงามมากกว่าให้เราเข้าไปสำรวจ

แรกสุดที่เราชอบปั๊มน้ำมันมากๆคือการที่มันพูดถึงเรื่องรักในแบบอนุรักษ์นิยมจำพวกรักแท้ รักเดียว รักไม่แปรเปลี่ยนรวมไปถึงเก็บความบริสุทธิ์ไว้หลังแต่งงานอะไรแบบนั้น แต่มันกลับเล่าเรื่องด้วยน้ำเสียงแบบเสรีนิยมขั้นสุดคือคิดอะไรก็พูดมันออกมา ตรงไปตรงมาไม่กระมิบกระเมี๊ยบ ซึ่งเราว่ามันใช่มากๆกับสังคมไทยในภาวะปัจจุบันโดยทำในสิ่งที่ความเป็นจริงนั้นทำไม่ได้ กล่าวคือการเอาเสียงกระซิบมาทำให้มันดังขึ้นแล้วก็เอากรอบขนบธรรมเนียมโตๆมาทำให้มันเล็กลง

ยิ่งไปกว่านั้นในประเด็นเดียวกัน การพูดความจริง-เท็จในหนังมันก็เลยน่าสนใจตามไปด้วย การ “พูดความจริง” (แบบเสรี)ในหนังกลายเป็นสิ่งที่ดูเซอร์เรียล ดูไม่จริง ดูหลอก เหมือนกับเซ็ตอับทั้งหลายทั้งปวงในหนัง แต่การ “พูดไม่จริง” (เพื่อรักษาสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้) กลับกลายเป็นสิ่งที่ดูจริงเสียมากกว่า…..ตายแล้วววว นี่มันสังคมไทยดีๆนี่เอง!!!!

แล้วพอเรามองหนังไปในแง่นี้ การรอคอยของตัวละครในหนังมันเลยรุนแรง ดูจากช่วงเวลาในหนัง การรอคอยของตัวละครในหนังทั้ง 3 ตัวมันเลยให้ภาพการเมืองไทยยุคปัจจุบันได้ด้วย การรอคอยทางการเมืองที่มีความหวังแต่ยังคงมืดมน มั่นก็คงรอต่อไป นกก็ไปๆมาๆ เจ๊มัดกำลังจะตายส่วนฝนก็ยอมพ่ายแพ้ไป

ขอชื่นชมนักแสดงทุกตัวในหนัง ชอบและดีงามหมดเลย คือถ้าเล่นแบบนี้แล้วไปอยู่ในหนังเรื่องอื่นเราคงด่า แต่พออยู่ในหนังเรื่องนี้เรากลับรู้สึกว่ามันวิเศษมาก แต่ขอชมแม็กกี้เป็นพิเศษหน่อยเถอะ การทำให้เรารำคาญในตอนแรกแต่กลับย้อนมากุมหัวใจเราได้อยู่หมัดนี่วิเศษมากจริงๆ รักมากๆๆๆๆ

ปล. ไม่รู้ว่าคิดไปเองหรือเปล่าแต่เรารู้สึกว่าหนังมันมีจริตแบบคน ตจว บางอย่างที่คนเมืองอย่างเราไม่เข้าใจ จับไม่ได้อยู่

ปลล. จัดเข้าในหมวดหนังพี่กอร์ฟที่เราชอบต่อจาก Insects in the Backyard และ It Gets Better รู้สึกถูกจริตหนังดราม่าจริงจังของพี่กอร์ฟมากกว่าหนังตลกแฮะ

15/12/16 – High-Rise (Ben Wheatley/ UK, Belgium/ 2015) – 2/5

เริ่มต้นมาน่าสนใจมาก วิช่วลดีงามน่าติดตาม ปูพื้นเรื่องระบบชนชั้นที่รองรับระบบทุนนิยมในตัวตึกได้น่าสนใจดี แต่พอดูไปเรื่อยๆก็เริ่มรู้สึก WTF ขึ้นเรื่อยๆ

ไม่รู้เพราะภาพและสัญญะของสิ่งต่างๆในเรื่องมันชัดเจนอยู่แล้วหรือเปล่า หนังมันเลยใช้วีธีการเล่าให้ฉีกขนบ ฉีกโลกไปเลย ว่าไปพ่นจิตรวิทยา พล่ามปรัญญา อะไรก็ว่ากันไป แต่ในแง่นี้ พอมันทำตัวเหมือน Cosmopolis ของโครแนนเบิร์กแล้วไซร้ เราก็หนีออกห่างไปเลย

ชอบ Kill List ของ ผกก วิสท์ลี่ นะ แต่เรื่องนี้ไม่โอเค

16/12/16 – A Bride for Rip Van Winkle (Shunji Iwai/ Japan/ 2016) – 3/5

ตอนดูจบใหม่ๆ ไม่ค่อยชอบหนังแฮะ แต่พอนั่งคิดถึงหนังไปเรื่อยๆก็รู้สึกว่ามันก็ดีในบางแง่นี่หว่า

ตอนดูจบใหม่ๆเรารู้สึกว่าเราไม่ซื้อในเรื่องจารีตและแนวคิดบางอย่างในเรื่อง อาจด้วยเพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนหรือการที่เราเติบโตขึ้น เราเลยรู้สึกว่าหนังมันทำตัวเป็นผู้ใหญ่ใจดีที่มาคอยบอกคอยสอนเด็กๆอยู่ตลอดเวลา ทั้งเรื่องแต่งงานในครึ่งแรกและการแสดงหนัง AV ในครึ่งหลัง

แต่พอมานั่งคิดกับหนังไปเรื่อยๆก็พบว่า ก็เพราะอีเหล่าจารีตและแนวคิดแบบนี้นี่หว่าที่ทำให้ชีวิตคนมันพลิกผันไปมา ต้องมาจ้างญาติปลอมๆ หาครอบครัวปลอมหรือกับความเจ็บป่วยในการการยึดติดกับอะไรบางอย่างที่สัมพันะธ์กับแนวคิดเหล่านั้น ก็เลยรู้สึกกลายเป็นโอเคกับหนังขึ้นมา

จะเสียอย่างเดียวก็คงที่ความยาวของหนังนั้นแหละ ไม่รู้จะยาวไปทำไปตั้งสามชั่วโมง หลายๆช่วงมันเลยรุ้สึกเกินๆและออกจะน่าเบื่อ แต่ส่วนตัวเราชอบครึ่งหลังของหนัง โดยเฉพาะทุนซีนที่นางเอกอยุ่กับ Cocco ที่ช่วยตอกย้ำว่าชุนจิยังคงฉกาจเสมอในการนำเสนอตัวละครเพศหญิงให้เต็มไปด้วยสเน่ห์และมีติที่น่าหลงใหล

ปล. Swallowtail Butterfly ยังคงเป็นหนังชุนจิที่เราชอบมากที่สุด

21/12/16 – ดาวคะนอง (อโนชา สุวิชากรพงศ์/ ไทย/ 2016) – 5/5

ต้องกราบขอบคุณมิตรสหายหลายๆท่านที่บ่นว่าดูหนังไม่รู้เรื่อง เราเลยปล่อยตัวปล่อยใจไปเลยเต็มที่…แล้วก็ตายแน่นิ่สงบงคาจอ

มีอยู่ 4 สิ่งที่หนังมันตราตรึงอยู่ในสมองของเราออกมาจากโรง

1. การพูดถึงประวัติศาสตร์ 6 ตุลา 19:

สำหรับเรา นี่น่าจะเป็นหนัง(ยาวที่ฉายโรง)ที่พูดถึง 6 ตุลา 19 ได้ชัดและตรงไปตรงมาที่สุด โอเคล่ะ แม้ว่ามันจะเป็นเพียงแต่แบล็คกราวด์ของเรื่องที่พูดถึงการจำจดประวัติศาสตร์ การบันทึกประวัติศาสตร์ แต่มันก็มากพอที่ควรจะกล่าวถึงและบันทึกไว้กับเหตุการณ์ของเช้าวันนั้นในภาพยนต์ไทย

2. การบันทึกประวัติศาสตร์ด้วยภาพยนตร์:

อันเป็นประเด็นหลักของหนังที่พูดถึงวิธีการการจดจำ การรับรู้และการบันทึกประวัติศาสตร์และเรื่องเล่า ในที่นี้คือการบันทึกลงในตัวภาพยนตร์ เราได้เห็นการซ้อนทับกันของเรื่องเล่าในหนัง ของชีวิตของตัวละครในหนังที่่ผ่านตัวภาพยนตร์ของผู้กำกับแอนในเรื่อง หรือแม้แต่ของตัวผู้กำกับใหม่ อโนชา ในหนังเรื่องนี้เอง ทั้งในประวัติศาสตร์ทางสังคมและประวัติศาสตร์ส่วนบุคคล ผ่านภาพการถ่ายทำหนังในตอนเริ่มเรื่อง, การเล่าการถ่ายทำซ้ำโดยดาราดัง หรือแม้แต่การโลดแล่นขับรถบนจอของนักแสดงที่ตัวจริงได้รถคว่ำตายจากไปเสียแล้ว

น่าสนใจว่าทุกครั้งที่เรา “รู้สึก” ร่วมกับหนังในบางซีน ซีนเหล่านั้นมักจะเป็นซีนที่ถูกปรุงแต่งออกมาแล้ว กล่าวคือมันเป็นภาพยนตร์อีกเรื่องไปแล้ว ไม่ใช่เรื่องเล่าเดี่ยวๆเพียวๆอีกต่อไป

3. การรับรู้และการจดจำประวัติศาสตร์:

ต่อเนื่องจากข้อ 2 หนังใช้วิธีการสื่อสารที่ต่างออกไปในแต่ละการซ้อนทับกันของเรื่องเล่า อันป็นการสะท้อนภาพวิถีการจดจำทั่วไป นั่นคือการเลือกที่จะจดจำบางอย่าง ลืมบางอย่างหรือเลือกที่จะต่อเติมบางสิ่งเข้าไป ทั้งการทำซ้ำภาพในอดีตในตอนต้นเรื่อง, การปรับเปลี่ยนตัวละครและเพิ่มข้าวของเข้าไปในซีนซ้ำของดาราดังรวมไปถึงการรับรู้จะที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปต่อตัวละครที่ตายจากไปแล้ว

อนึ่ง ในประเด็นนี้ เรากลับอินมากๆกับประเด็นการจดจำอดีตของตัวละครแอน มี 2 ซีนที่เกี่ยวเนื่องกันและน่านำมาคิดถึงเรื่องนี้ นั่นคือซีนร้องเพลงดวงจันทร์เมื่อตอนไฟดับและซีนเล่าเรื่องพลังจิตย้ายสิ่งของ มันเป็นเพลงที่จำไม่ได้แต่นึกขึ้นมาได้และเป็นเหตุการณ์นานมาแล้วแต่ยังจดจำได้ดี เพราะเราคิดไปว่าการเคลื่อยย้ายสิ่งของได้ของแอนคืออาการที่เราเชื่อดวงจันทร์เดินตามเราเมื่อเรายังเป็นเด็ก พอเราเชื่อไปแบบนี้เลยรู้สึกถึงเรื่องการจดจำอดีตของตัวเองมากๆที่ว่ามันคือการเลือกจำบางส่วนและตัดต่อเองในบางส่วน

ดังนั้นแล้ว การรับรู้และจดจำจึงพ่วงพ้องเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวภาพยนตร์ มันคือการบันทึกที่เต็มไปด้วยการเลือก ตัดทอน เพื่อพลังของทั้งเรื่องเล่าเองและชีวิตผู้คน

4. ภาพชนชั้นที่มองไม่เห็น:

สำหรับเรา ตัวละคร หน่อง คือสิ่งที่ดีที่สุด ดีมากๆที่สุดของหนัง มันชัดเจนว่าภาพของเธอคือใครและมีบทบาทอย่างไรต่อเรื่องเล่าทั้งหมด ต่อการบันทึกต่างๆและต่อตัวสังคมไทยเอง เป็นตัวละครที่แทบไร้เสียง ไร้ตัวตน เป็นตัวละครที่แนะนำให้คนเขียนเรื่องตนเองด้วยตัวเองแต่แทบไม่มีเรื่องเล่าของเธอเลยในหนังนอกเสียจากกิจกรรมเล็กๆน้อยๆที่ส่วนมากเป็นงานแรงงาน การเปลี่ยนงานของเธอกับการเปลี่ยนบทบาทของปีเตอร์นั้นพ้องรูปกัน เพียงต่างกันตรงที่เธอไม่เคยถูกบันทึกไว้แบบปีเตอร์ คนที่แม้แต่ความสุขอย่างการปลดปล่อยร่างกายด้วยเต้นก็ยังถูกรบกวนด้วยภาพล้มก่อนกลายเป็นภาพเวิ้งว้างสีผิดเพี้ยนเพื่อการกลับไปบันทึกเหตุการณ์อื่นที่คนอื่นอาจเห็นว่าสำคัญกว่า

5. อื่นๆ

– ชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า เจ้านกกระจอก ชอบชื่อหนัง ดาวคะนอง ดาวมหาลัยที่กลายมาฝ่ายต่อต้าน

– วิศรา วิจิตรวาทการ ดีงามจริงๆ

– ชอบซีนเดินตามเด็กในชุดการ์ตูนหมีของแอน ชอบการตัดในซีนนี้มันอิมแพ็คมาก การค้นหาตัวเองผ่านเห็ดเมา (แต่ตีความไม่ออก)

– เพลงจบ (เหมันต์รัญจวน) ของหนังมีท่อนหนึ่งว่า “อย่ากลับมาเลย อย่ากลับมาเลย โอ้ลมหนาวเอยอย่าเลยมา ฉันคงต้องตายเมื่อลมเหนือพัดพา หอบอดีตมา ปล้นขวัญฟันฆ่าไร้ปราณี” นั่งฟังจนจบ รุนแรงที่สุด เข้ากับการพูดเรื่อง 6 ตุลาและการปฏิบัติต่อเหตุการณ์นั้นของเหล่าผู้มีอำนาจได้ดีเหลือเกิน

21/12/16 – Motel Mist โรงแรมต่างดาว (ปราบดา หยุ่น/ ไทย/ 2016) – 4.5/5

ชอบจังเลย สนุกจัง ชอบความประหลาดแบบสุดๆของมัน ความเซอร์เรียลของมัน ชอบพาร์ตเอเลี่ยนที่สุด ที่ทั้งหมดทั้งมวลมันก็ผสมลงตัวเป็นเนื้อเดียวกับสารที่หนังมันส่งออกมา นั้นก็คือการแทนภาพระบบการปกครองต่างๆนาๆในบริบทของสังคมไทย

หนังดับฝันเหล่าลิเบอรัลไปก่อนเลยตั้งแต่ในช่วงแรกของหนังด้วยภาพการถอยห่างออกไปเรื่อยๆของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เปิดเรื่องก็บ๊ายบายกันไปก่อนเลย มันไม่มีหรอก อะไรที่เรียกว่าประชาธิปไตยในสังคมไทยในหนังเรื่องนี้ บั๊ย!

แล้วหนังให้เราดูอะไร เราเห็นพ่อมารับลูกจากโรงเรียน ตบปากลูกเมื่อพูดคำหยาบ แม้จะดูทะแม่งๆไปเสียหน่อยแต่ก็แลดูรักลูกอยู่ แต่แล้วความคิดเราก็ล้มครืนเมื่อเพลง overture ดังขึ้น พ่อจับมือลูกไปชักว่าวก่อนที่จะแกนบังคับจับหัวให้ลงไปอม! หลังจากนั้นเราจึงเริ่มเข้าใจว่ามันไม่ใช่พ่อ-ลูกกัน มันคือเรื่องของชายแก่รุ่นพ่อผู้ชอบคงความเก่าเอาไว้เพราะเชื่อว่าคลาสสิคอยู่เหนือกาลเวลาและไม่หยาบเหมือนสมัยใหม่ ผู้ที่กำลังเริงรมณ์กับการค่อยๆกระทำกับด็กสาวคราวลูก ทั้งทางตรงด้วยการคงไว้ซึ่งชุดนักเรียนตามขนบเก่าหรือแม้แต่การล่วงล้ำด้วยดิลโด้และทางอ้อมอย่างการถูกจ้องมองแผ่นหลังของเธอตอนอาบน้ำผ่านเลนส์กล้อง….มาถึงตรงนี้ก็เห็นชัดละว่ามันคือการปกครองแบบใด จะปิตาธิปไตย  อัตตาธิปไตย คณาธิปไตยหรือเผด็จการอะไรก็ว่ากันไป

แล้วทางผู้ทุกกระทำที่คือเหล่าหญิงสาวละ เราจะมองเป็นอะไรได้บ้างในแง่ของการปกครอง อย่างที่บอก อย่าสะเอะว่าจะเป็นประชาธิปไตยอะไรเสรีเทือกนั้นเพราะมันได้ตายไปแล้วตั้งแต่ตอนเริ่มเรื่อง เราได้เห็นพวกเธอพลิกบทกลายเป็นผู้กระทำไปเสียแทน แต่เพื่อจุดประสงค์เดียวนั่นคือ การแก้แค้น แล้วด้วยวิธีใดล่ะ? ก็ด้วยวิธีเดียวกับที่ชายแก่ปฏิบัติต่อพวกเธอยังไงล่ะ แบบเดียวกันเลย แถมเอาอาวุธของชายแก่มายั่วล้อเล่นกันอย่างสนุกสนาน ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่พวกเธอทำคือ แต่งแต้มเติมสีสันใหักับชายแก่เสียใหม่ ไม่ปานเปลี่ยนเปลือกอำนาจการปกครองเดิมให้มีรูปลักษณ์เสียใหม่ ทาปากทาเล็บเสียใหม่(แต่ก็ไปในแบบผิดเพื้ยนรูปอยู่ดี)…ดังนั้นถ้าพูดอย่างสลิ่มหน่อย นี่ก็คือนักการเมืองเลวไงล่ะเธอว์! พวกกูนี่แหละ คนดี!!!

โอเค ที่พึ่งสุดท้ายของเราก็คงไม่มีใครแล้วนอกจากมนุษย์ต่างดาว เราอาจกล่าวได้ว่าการสิ่งร่าง การเข้ายึด เป็นการปกครองในรูปแบบหนึ่ง แล้วมันเป็นแบบไหนกันล่ะ? การเข้ายึดที่ก็ยังสื่อสารกับเจ้าของร่างได้ในระดับหนึ่ง การเข้ายึดที่ทำให้ร่างที่ถูกยึดหนีออกจากสังคม(ไทย)ที่ทำให้ผู้เป็นแม่รับไม่ได้และเชื่อว่าลูกป่วยไข้ แถมมีพลังที่ทำให้คนเป็นโรคประหลาดหรือแม้แต่ทำให้ชายสูงวัยตายได้ แต่ก็เป็นสิ่งเดียวกันที่บอกให้หญิงสาวออกไปจากโรงแรมและให้เด็กนั่งรอต่อไป

เหมือนจะชัด แต่ก็ไม่ชัดเสียทีเดียว เป็นการปกครองที่เรานิยามตายตัวไม่ได้ มันดีกว่าการปกครองของชายแก่หรือการปกครองของหญิงสาวหรือเปล่า เราไม่รู้หรอก แต่ก็เป็นการปกครองที่ทำให้คนได้ควงกระบองไฟตามฝัน แต่ไม่ใช่ที่ชายหาดอย่างที่เขาหวัง แต่มันคือในโมเทล โมเทลที่แทบไร้คนเมื่อยามมันชื่อ Motel Mistress กล่าวอีกแง่คือมีแค่กลุ่มคนไม่กี่คนที่โนสนโนแคร์กับ Mistress ความผิดบาปอะไรแบบนั้น แต่เมื่อมันกลายเป็น Motel Mist ไปแล้วไซร้ เมื่อม่านหมอกปกคลุม เมื่อนั้นแขกเหรื่อก็เข้ามากันเต็มไปหมด

ก็นี่แหละหนา สังคมไทย การปกครอบแบบไทยๆ ในม่านรูดของสังคมไทย มันไม่มีประชาธิปไตย

22/12/16 – Obsessed (Kim Dae-woo/ South Korea/ 2014) – 2/5

เรื่องราวการคบชู้ในแวดวงทหารในยุคหลังสงครามเกาหลี ตัวเอกเป็นผู้พันผู้ประสบความสำเร็จในภารกิจสงครามแถมยังเป็นลูกเขยนายพล เกิดไปตกหลุกรักหญิงสาวลูกครึ่งเกาหลี-จีนที่เป็นภรรยาของลูกน้อง

หนังมีจริตดราม่าเกาหลีอยู่เต็มเปี่ยม ใครจะดูโอปป้าก็ได้ ดูนางเอกสวยๆก็ได้ ถ้าอินกับเรื่องราวความรักในหนังก็ก็คงร้องไห้ฟูมฟายในตอนท้าย แต่เราเฉยๆ ยิ่งช่วงท้ายนี่ยี้มาก

ส่วนตัวเสียดายที่ประเด็นเรื่องผลกระทบทางสงคราม เรื่องความเป็นลูกครึ่งจีนของนางเอก หรือแม้แต่แบล็คกราวด์ตัวละครที่เป็นหทาร มันไม่ได้ถูกนำเข้ามาเล่นเท่าไหร่ทั้งๆที่เราว่ามันน่าสนใจ

ส่วนนางเอก Lim Ji‑yeon ก็สวยดี แต่บางซีนนี่ดูหน้าเบี้ยวๆ เหมือนทำบล็อคมาไม่ดี

ปล. เคยดู The Servant (2010) ของ ผกก คนนี้ ที่ก็เพ้อเจ้อพอๆกัน

23/12/16 – Vulgaria (Pang Ho-cheung/ HK/ 2012) – 1/5

เรื่องของโปรดิวเซอร์ทำหนังเกรดสามตกอับผู้กำลังจะเสียการดูแลลูกและขาดทุนรอนในการทำหนังเรื่องใหม่ โชคดีที่ได้นายทุนจากจีน แต่ก็โชคร้ายที่นายทุนเป็นผู้ควบคุมทุกสิ่งอย่างของหนังแถมยังมีรสนิยมอันแปลกประหลาด

ดูเผินๆก็เหมือนเป็นหนังฮ่องกงด่าจีน ในแง่ของการที่หนังฮ่องกงโดนกลืนด้วยจีนแผ่นดินใหญ่ไปหมดแล้ว ซึ่งก็ด่าแบบแรงๆด้วย อีคนจีนในเรื่องนี้กลายเป็นมนุษย์ประหลาดผู้กินอาหารแปลกประหลาด แถมชอบมีรสนิยมทางเพศกับสัตว์!

แต่ในความยาวหนังกว่าสองชั่วโมงนั้น สิ่งที่หนังดำเนินการก็คือการกระทำตามชื่อหนังนั้นแหละ ต่ำช้าโสมม ไร้รสนิยมอย่างหาที่สุดไม่ได้เลย มันเลยกลายเป็นการบอกว่า จริงๆฮ่องกงก็ไม่ต่างจากจีนหรอกนะเธอว์

ประหลาดใจมาก เพราะเราชอบ Isabella (2006), Exodus (2007) กับ Love in a Puff (2010) ของ ผกก คนนี้

24/12/16 – Balckhat (Michael Mann/ US/ 2015) – 2/5

น่าเบื่ออะ การแฮ็กต่างๆนาๆว่าไม่น่าสนใจแล้ว ช่วงท้ายที่แปลงร่างไปเป็นหนังแอ็คชั่นนี่ยิ่งแล้วใหญ่ แถมยังไปสะเออะแอ็คชั่นที่๋ฮ่องกงแบบที่ไม่ได้เสี้ยวนึงของหนังแอ็คชั่นฮ่องกงเลยซักนิด

ความบันเทิงเริมรมณ์ของเราเลยคือการจับผิดหนัง 555 อาทิ การระเบิดที่จีน แต่มึงทำงานกันที่ฮ่องกงแล้วเดินทางกันไปมาเร็วเหลือเกี๊น (ลองหาข้อมูลดู ก็คิดว่าน่าจะเป็นที่นี่ Daya Bay Nuclear Power Plant ที่ตั้งอยู่ใน  Guangdong เมืองเซิ้นเจิ้น ที่ถึงจะติดกับฮ่องกงแต่ก็ไม่มีทางที่เมิงจะเดินทางกันได้เร็วขนาดนั้น: https://en.wikipedia.org/wiki/Nuclear_energy_in_Hong_Kong) หรือการไปมาเลเซียหรือฟิลิปปินส์นี่แหละจำชัวร์ไม่ได้ แต่เสือกทำพาสสปอร์ตมีตราครุฑไทย (WTF!) หรือช่วงท้ายในซีนประทะกันงานงานเทศกาลอะไรซักอย่างในอินโด คือเข้าใจแหละว่ามันได้ภาพสวยๆงามๆ แต่กูงงมากที่คนเป็นเบือเค้าแม่งไม่ตกใจกันเลยหรือว่ะที่พี่เล่นถือปืนโล่ซะขนาดนั้น

จริงๆชอบหนังไม่เคิล มานน์นะ ชอบความดิบของแกซึ่งจริงๆในหนังเรื่องนี้มันก็มีอยู่แหละแต่มันไม่ช่วยใดๆเลยให้หายเบื่อเลย

โถ่ ถั่งเหว่ย ของเค้าาาาา อีคริส มันไม่คู่ควรเลยซักนิด

25/12/16 – The Descendants (Alexander Payne/US/ 2011) – 4/5

เพิ่งมาได้ดู อเล็กซานเดอร์ เพย์น ยังคงไม่เคยทำให้เราผิดหวัง หนังเรียบง่ายแต่ดีเหลือกเกิน บทดี การแสดงดี ดูจบแล้วอมยิ้ม นี่ถ้าได้ดูตอนช่วงวิกฤตชีวิตแบบตัวละครเราคงร้องไห้ฟูมฟายเสียสติ

หนังมันพูดถึงความเป็นครอบครัวในช่วงเวลาที่หนึ่งในนั้นกำลังจะตายจากไปพร้อมกับความลับด้านมืดที่ผุดขึ้นมา คำถามคือเราจะดีลกับสิ่งเหล่านั้นอย่างไรให้ทั้งตัวเองและครอบครัวเดินต่อไปได้

จริงๆหนังมันมีความโลกสวยอยู่มาก แต่ข้อดีคือมันโตพอที่จะไม่ฟูมฟาย สิ่งที่หนังมันดีงามๆมากๆคือการแสดงภาพการดีลกับความนึกคิดและสำนึกของตัวเองในการจัดการสิ่งสำคัญหนึ่งในชีวิตและภาพครอบครัวที่มันมีสายสัมพันธ์แนบชิดกันบางๆ มันคือความหม่นเศร้าในบรรยากาศของความสดใสของฮาวาย

ทุกสิ่งมีเวลาของมันที่ส่งทอดต่อๆกันไป

14100399_948289208613490_1935258840418010741_n28/12/16 – I Want You To Be (บัณฑิต สินธนภารดี/ ไทย/ 2015) – 5/5

“กูไม่ชอบทะเลเลยว่ะ กูแม่งอยากร้องไห้ทุกครั้งเวลาที่เห็นคลื่นกระทบฝั่ง”

มันว่าด้วยเรื่องความรักของวัยรุ่นที่อาจเกิดขึ้นจากความผูกพัน แต่กลับเป็นไปไม่ได้ด้วยเงื่อนไขบางประการ มันเลยเป็นหนังที่พูดถึงความระทมทุกข์กับความรักที่เป็นไปไม่ได้ ยิ่งจะตัดให้ขาดยิ่งเป็นไปไม่ได้ กลายเป็นวังวนแบบคลื่นที่กระทบเข้าฝั่ง ดั่งประโยคด้านบนที่ติดค้างอยู่ในหัวเราไปจนหนังจบ มองเห็นภาพการจูบกันของตัวละครบนชายหาด ภาพสามัญเหมือนคลื่นที่ต้องวิ่งเข้าฝั่ง แต่กลับยืนอยู่บนความสัมพันธ์ที่ไม่อาจเป็นไปได้

ดีใจที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ก่อนจบปี เพราะปีนี้เรายังไม่ได้เจอหนังแบบ  Friends Shift (บุญฤทธิ์ เวียงนนท์/ ไทย/ 2013) และ I Can’t Tell You Why (อานันท์ ปากบารา/ ไทย/ 2013) เลยอันเป็นหนังที่เราแพ้ทาง แล้วก็ดีใจมากที่หนังเรื่องนี้มันเหมือนก้าวย่างใหม่ของหนังแนวเฟรนด์โซนที่มันทะลุเรื่องเพศสภาพเข้าไปอีกขั้น ซึ่งที่เยี่ยมคือหนังมันคุมทุกอย่างออกมาพอดิบพอดีไปหมด การใส่ตัวละครที่สามเข้าไปแบบนี้ถ้าไม่นิ่งพอหนังอาจเป๊ได้ง่ายๆ แต่นี่ไม่เลยกลับยิ่งทำให้หนังมันแข็งแรงและไปได้ไกลขึ้นอีก

หนังมีรายละเอียดปลีกย่อยดีๆเต็มไปหมดและมีศักยภาพมากพอที่จะฉายโรงได้ (และเห็นว่าน่าจะได้ฉายโรงจริงๆ)

ออ น้องนางเอก รินรดา กู้สกุล ดีมากกกกกกกกกกกกกก

ปล ดูท่าว่าอันดับหนังสั้นของปีนี้ น่าจะเป็นปีของตัวละครหญิง 555

29/12/16 – Fifty Shades of Gray (Sam Taylor-Johnson/ US/ 2015) – 2/5

หนังค่อนข้างน่าเบื่อ คือใช้เวลาดูรวดเดียวไม่ได้จริงๆ มันจะหลับตลอดเวลา แต่ก็ไม่ได้รู้สึกว่ามันแย่อะไรมากเมื่อดูจบแม้ว่ามันจะไม่ตอบโจทย์ใดๆกับเราเลยก็ตาม ออกไปทางเพลินๆ

แต่ข้อเหี้ยคือการที่หนังมันจบแบบกะมีภาคต่อชัวร์ๆ ประเด็นอะไรก็ตามในหนังมันเลยไม่ถูกคลี่คลายอะไรเลย เราเลยได้เห็นแต่คนหล่อ คนสวย มาแฟนตาซีกันผ่านเซ็กซ์แบบ S&M ก่อนจะง้องอนกันแล้วหนังก็จบ ปมอะไรก็ตามปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น เก็บไว้แค่ความโรแมนติกพอ

สองจิตสองใจว่าจะดูภาคต่อในปีหน้าไหม

30/12/16 – Rogue One: A Star Wars Story (Gareth Edwards/ US/ 2016) – 2/5

รู้สึกไม่ใช่แฟน(หนังชุดนี้) เลยชอบแทนไม่ได้

โถ กาเร็ต ของชั้น ถ้าได้ทำเองเต็มๆโดยที่ค่ายหนังไม่มายุ่งจะเป็นยังไงนะ เราเชื่อว่าเราคงจะชอบมากกว่านี้แน่ๆ

หวังมาทุกภาค เลิกหวังกันบ้างก็ได้นะ

เฟลิซิตี้ ไม่ใช่อะ ไม่ใช่เลย เคมีกับลูน่าก็คนละเรื่อง

อีหุ่นยนต์นี้เอา จาจาบิง เป็นต้นแบบซิท่า

ว๊าย! ฉากจบ impact….หมายถึงลอก Deep Impact มาเลย (คืออดคิดไม่ได้อะ)

แล้วหัวพี่ดาร์คเวเดอร์ดูเซินเจิ้นจังเลยค่ะ

31/12/16 – พรจากฟ้า (จิระ มะลิกุล, นิธิวัฒน์ ธราธร, ชยนพ บุญประกอบ, เกรียงไกร วชิรธรรมพร/ ไทย/ 2016) – 2/5

ยามเย็น: แฟนตาไซร์ – แต่น้องวีดีมาก รักมาก

Still on my mind: โรแมนติไซร์ – สิ่งทีดีที่สุดคือป้าฟ้า

พรปีใหม่: ว๊อท ดา ฟัค! – น๊อตติ้งทูเซว์