02/11/16 – เลิฟอะรูมิไลค์ รักอะไรไม่รู้ (จิต กำเหนิดรัตน์, ฆนาการ สายทอง, ไทย/ 2015) – 0.5/5
นี่…มัน…เหี้ย…อัล…ไล…ม่าย…ยู้
พอรู้ว่าหนังมันเป็นแบบนี้ก็เลยเปิดทิ้งที่จอด้านหนึ่ง แล้วไปอ่านความรู้และปัญหาเรื่องข้าวในจออีกด้านนึง
ดีจัง พอหนังจบ ได้ความรู้ใส่สมองพร้อมกับความรู้สึกว่าหนังจบแล้ว เย้ๆ
ปล. มันมีเอนเครดิตสั้นๆ แต่กลับน่าสนใจกว่าหนังทั้งเรื่องอีกง่ะ
02/11/16 – Doctor Strange (Scott Derrickson / US/ 2016) – 2/5
– โครงสร้างของหนังมัน สตาร์ว๊อร์ สตาร์วอร์ มีมาสเตอร์โยดาสวินตัน, ดาร์คเวเดอร์หมีแพนด้าและเจไดที่เป็นคนตลกแต่มือไม่ขาด แต่ก็ไม่วายมีคนมือขาดอยู่ในหนังอยู่ดี (อันนี้ไม่ว่ากันเพราะผู้บริหารเคยออกมาบอกแล้วในหนังหลายๆเรื่องของมาเวลล์)
– ขำเองอยู่คนเดียวทุกทีที่เห็นฝรั่งมาพล่ามถึงปรัญญาแบบตะวันออก พวกเรื่องนามธรรมต่างๆนาๆ ถอดจิต เอาชนะจิต บลาๆๆๆๆ ไม่รู้ทำไม
– แล้วพอมันพูดถึงเรื่องเหล่านี้ ทางมันเลยเปิดอ้าซ่า แบบกูจะเล่นอะไรก็ได้แล้วโว้ย ตรรกะเหตุผลไม่มีความจำเป็นอีกแล้วโว้ย ไปค่ะซิส! ไปเมากันให้เต็มที่เลยค่ะ
– ชอบใบหน้าของ ทิลด้า สวินตัน มาก รู้สึกเหมือนหน้าโดนฉีดฟอร์มาลีนตลอดเวลา หน้าซีดๆ ปากเผยอๆนิดๆ
– หงุดหงิด ฮ่องกง ดูไม่ฮ่องกงเลย
– โดยรวมเฉยๆแกมเบื่อๆ ดีที่ชอบในตัวนักแสดง ชอบคัมเบอร์แบตช์ ชอบแมคอดัมส์ ชอบสวินตัน เลยถือซะว่ามาดูพวกนางๆรำงิ้วพักผ่อนกัน
– กล่าวเหมือนเดิมกับจักรวาลมาเวลล์ว่ามันจะไปได้สุดถึงตรงไหน ตอนนี้มีทั้งเรื่องบนโลกปกติ บนโลกอื่น ตะลุยจักรวาลก็มี แล้วนี่ล่าสุดก็สายเวตมนต์ ดูซิ มึงจะยำได้อีกนานแค่ไหน
04/11/16 – The Tunnel (Kim Seong-hun/ South Korea/ 2016) – 2.5/5
รู้สึกว่าได้ดูหนังในช่วงเวลาที่ถูกต้อง คงไม่มีอะไรเหมาะไปกว่าหนังที่มันด่าสื่อ ด่ารัฐตรงๆแบบนี้ในช่วงเวลาที่เกาหลีใต้กำลังฉิบหายกับเรื่องประธานาธิบดีของตนเองอยู่
แต่หนังก็ไม่ได้เซอร์ไพร์สอะไรเราเท่าไหร่ เพราะจริงๆเรื่องมันไม่มีอะไรเลยแต่กลับยาวตั้งเกือบสองชั่วโมง มีแค่คนรอความช่วยเหลือในอุโมงค์ กับคนที่เข้ามาช่วยเหลือ แต่เพราะอีคนแรกมันทำอะไรมากไม่ได้มากกว่าการรอความช่วยเหลือ หนังมันเลยพยายามใส่ดราม่าเข้าไป เจอสงเจอสาวเจอหมาอะไรงี้ ซึ่งมันไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่ ดังนั้นประเด็นหลักๆของมันเลยไปอยู่กับกลุ่มคนข้างนอกที่มีส่วนร่วมกันช่วยเหลืออีคนติดใต้ซากอุโมงค์นี้ อันเป็นส่วนที่ดีที่สุดของหนังนั่นแหละ ด่าสื่อ ด่าเจ้าหน้าที่ ด่ารัฐแบบแรงๆกันไป สนุกดี
ช่วงท้ายที่ยกเลิกภารกิจนี่ดีนะ แต่แหม เสียดายที่มันประณีประนอมจนไปไม่สุดทางสำหรับเรา
05/11/16 – ขุนพันธ์ (ก้องเกียรติ โขมศิริ/ ไทย/ 2016) – 3/5
เฮ้ย สนุกทีเดียว ส่วนหนึ่งก็มาจากโปรดักซ์ชั่นและคิวบู๊นี่แหละ นึกถึงหนังเอเซียที่ชอบอย่าง Let The Bullet Fly จากจีน หรือ The Good, The Bad and The Weird ของเกาหลีใต้ ตรงที่มันเอาขนบหรือเรื่องเล่าบางอย่างของประเทศตัวเองไปใส่ไว้ในขนบแบบโลกคาวบอยตะวันตก
แล้วก็ชอบผู้หญิงในหนัง เข้าใจแหละว่าขนบหนังแบบนี้ผู้หญิงเป็นอะไรไม่ได้มากไปกว่าตัวรองของเหล่าผู้ชายแมนๆ แต่ในหนังทั้งหมดเรากลับรู้สึกกับผู้หญิงคู่นี้มากที่สุดโดยไม่มีสาเหตุ แม้น้องกบจะพูดใต้ได้ฝาดหูมากเหลือเกินก็ตาม (คือจริงๆอยากให้คู่นี้ได้กัน)
ส่วนอีกคนที่ต้องชมคือ พี่น้อย พี่น้อยสุดมาก ตีความตัวละครออกมาดีจนอยากให้หนังเล่าในมุมมองตัว อัลฮาวียะลู มากกว่า ด้วยทั้งการแสดงและแนวคิดของตัวละครมันน่าสนใจกว่าตั้งเยอะ เบื่อขุนพันธ์กับแนวคิดขวาตกขอบแบบนี้ (ขอฝันใฝ่ กันเลยทีเดียว)
ออ หนังทั้งหมดฉิบหายลงเมื่อการปรากฏตัวของ…..เสือใบ!
06/11/16 – Natalie (Ju Kyung-jung/ South Korea/ 2010) – 2/5
ศิลปินช่างปั่นผู้สร้างประติมากรรมนู๊ดชื่อดังกับปริศนาความลับเบื้องหลังงานประติมากรรม นาตาลี ที่จะถูกเปิดเผยขึ้นจากการปรากฏตัวของนักวิจารณ์งานศิลป์ผู้มีความสัมพันธ์บางประการกับผู้เป็นแบบของนาตาลี เรื่องราวความรักและความลุ่มหลงในช่วงเวลา 10ปี ที่กำลังจะถูกเปิดเผย…
นอกจากฉากเอากันแล้วหนังก็ไม่มีอะไรให้น่าจดจำเท่าไหร่นัก ปริศนาที่ถูกคลี่คลายอย่างตรงๆทื่อๆเพื่อการมุ่งไปสู่แนวคิดสุดโรแมนติก
อันนี้ไม่เกี่ยวกับหนัง แต่ชอบนางเอกตอนเต้นบัลเล่ต์ งดงามดี
12/11/16 – บุปผา อาริกาโตะ (ยุทธเลิศ สิปปภาค / ไทย/ 2016) – 0.5/5
อย่างที่ไอ้เแจ็คว่าไว้ในเรื่องเลย “เหี้ยแล้วววววว” “ไปกันใหญ่แล้วววววว”
หมดกันประเด็นเฟมินิสต์ หมดกันสไตร์การ์ตูนเล่มละบาท หมดกันแก็งค์แฟนฉัน
นอกจาก เก้า อย่างอื่นแย่ยิ่งกว่าจะบอกว่าไม่น่าจดจำ
“เหี้ยแล้วววววว” “ไปกันใหญ่แล้วววววว”
14/11/16 – Ten Years (Jevons Au, Ng Ka-Leung, Chow Kwun-Wai, Fei-Pang Wong, Kwok Zune/ HK/ 2015) – 3.5/5
จะเป็นอย่างไรเมื่อฮ่องกงกลายเป็นส่วนหนึ่งของจีนอย่างสมบูรณ์ในอีก 10ปีข้างหน้า หนังเรื่องนี้คือภาพสะท้อนของฮ่องกงในเรื่องนี้ หนังสั้น 5 เรื่องผู้ชนะรางวัลจาก Hong Kong Film Awards เมื่อปีที่แล้ว และจีนก็แบนหนังไปตามระเบียบ
โดยรวมรู้สึกว่ามันหนักหน่วงดี เต็มไปด้วยความเกรี๊ยวกราดของคนฮ่องกงที่มีต่อรัฐบาลจีน โอเคแหละว่ามันอาจจะเต็มไปด้วยไบเอส เป็นการคิดไปก่อน คิดไปเองหรือเดาเอาเองไว้ล่วงหน้า แต่หากเป้าหมายคือรัฐบาลจีนแล้ว อะไรก็เกิดขึ้นได้ทังนั้น
เรียงตามความชอบจากน้อยไปมาก
1. Season of the End: จริงๆไอเดียมันดีนะที่พูดถึงการเก็บรักษาอัตลักษณ์ของตนเองไว้ แต่ปัญหาของตอนนี้คือการนำเสนอแบบนิ่งเรียบและสื่อสารแบบวนอ้อมสาระแกนหลักตลอดทั้งเรื่อง อันเป็นเหตุให้คนดูถูกผลักออกจากหนังตลอดเวลา จุดพีคสุดของหนังอย่างการเอาตนเองเป็นอัตลักษณ์เสียเองมันเลยไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าไหร่
2. Extras: หนังพูดถึงภาพของระบบหากจีนเข้าครองฮ่องกงด้วยการสร้างสถานการณ์ในการควบคุมประชาชน มันตรงไปตรงมา มีผู้วางเกม ผู้เป็นเหยื่อ ผู้เล่นและผลสัมฤทธิ์ ชัดแจ้งจนไม่เห็นอะไรนอกจากนั้น (อย่างไรก็ตาม มันดีทีเดียวหากคิดแนบในบริบทของประเทศไทย)
3. Dialect: ตอนนี้จริงๆก็ชัดและตรงไปตรงมา แต่มันแนบชิด ใกล้ตัวและรู้สึกได้มากกว่าในแง่ที่ว่าจะเกิดอะไรขึ้เมื่อฮ่องกงอยู่ภายใต้จีนอย่างสัมบูรณ์ด้วยการบังคับเปลี่ยนภาษาทางการจากกวางตุ้งเป็นจีนกลาง มันพูดถึงการต้องปรับตัวของฮ่องกง ตั้งแต่การต้องเรียนรู้ภาษาอังกฤษเมื่อก่อนโน้นจนมาถึงการบังคับพูดจีนกลาง, การพล่าเลือนอัตลักษณ์ของฮ่องกงจนถึงการอยู่รอดในสภาวะใหม่ที่ไม่คุ้นชิน
4. Local Egg: ตอนนี้น่าจะเป็นตอนที่สุดโต่งที่สุดที่จับเอาลัทธิเหมายุคปฏิวัติวัฒนธรรมมาใส่ไว้ผ่านกลุ่ม Young Guard ผู้คอยสอดส่องจับผิดสิ่งที่ขัดแย้งต่ออุดมการณ์ของจีน ขัดแย้งต่อความเป็นชาติจีน เพื่อลดความเป็นอื่นจากจีนลงไป (ในที่นี้คือคำพื้นถิ่นและอาหาร) โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นคนในครอบครัวตัวเอง ซึ่งหนังมันก็ตบหน้าจีนแรงทีเดียว
5. Self-immolator: นี่คือตอนที่ดราม่าที่สุดและพาคนดูพุ่งไปสุดทางที่สุด หนังทำตัวเป็นสารคดีหลอกๆที่มีการสัมภาษณ์กลุ่มคนต่างๆในปี 2025 อันประกอบทั้งผู้ที่เห็นด้วย เห็นต่างหรือผู้ที่ยอมประนีประนอมกับจีนในช่วงเวลาที่จีนเข้าครองฮ่องกง พ่วงไปกับเรื่องราวของการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวเพื่อปลดปล่อยฮ่องกงจากจีน โดยมีเหตุการณ์การเผาตัวเองหน้าหน้าสถานกงศุลอังกฤษเป็นต้นเรื่อง มันพูดถึงความหวังและราคาที่ต้องจ่าย ช่วงเฉลยในตอนนี้นำพาอารมณ์คนดูพุ่งถึงขีดสุดมากๆ มากเสียจนถ้าเราเป็นคนฮ่องกงคนอินน้ำตาแตก
16/11/16 – Your Name (Makoto Shinkai/ Japan/ 2016) – 4.5/5
ดีใจที่มันออกมาอย่างที่คาดหวัง ในหนังของชินไกที่เราเคยดูเราชอบ 5 Centimeters Per Second มากที่สุด แล้วเรื่องนี้มันก็เหมือนกับการเอาสารใน 5 Cen มาทำใหม่ให้มันแมสขึ้น ลงตัวขึ้นและประณีประนอมมากขึ้น ผลคือแม้ไม่ได้กลายเป็นหนังที่ชอบที่สุดแต่ก็ยอมพ่ายแพ้กับมันแบบถวายตัวให้
เหตุผลที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้กับ 5 Cen มากก็คือการที่มันพูดเรื่องอำนาจของเวลาที่มันส่งผลต่อความทรงจำและการหลงลืม มันเป็นประเด็นที่เรารู้สึกร่วมเป็นพิเศษ ยิ่งในช่วงหลังๆที่รู้สึกว่าความทรงจำของตัวเองย่ำแย่ลงไปเยอะมาก จำได้ว่าใน 5 Cen ในองค์สุดท้ายที่เราร้องไห้ออกมาเลย การหลงลืมโดยไม่ได้ตั้งใจมันรุนแรงมาก แล้วใน Your Name มันก็สานต่อประเด็นนี้เข้าไปอีกด้วยการเสริมเรื่องของ “ความฝันของเมื่อคืนที่เราจดจำมันไม่ได้” อันเป็นอีกสิ่งที่เรามีความรู้สึกร่วมมมากๆ เรามักตื่นจากฝัน แต่เราจำรายละเอียดอะไรไม่ได้ รู้แต่เพียงว่าเราฝันแต่เราจำหน้าคนหรือสถานที่ไม่ได้เลย ความสอดคล้องของอาการ “หลงลืม” ของทั้งในแง่ของการผ่านไปของเวลาและในห้วงความฝัน มันเลยยิ่งตอกย้ำความเจ็บปวดของเราเอง
และอีกส่วนที่เราสงสัยใคร่รู้คือความรักที่เกิดขึ้นในเรื่อง อะไรที่สิ่งทำให้ตัวละครที่สลับร่างกันมันรักกัน? คนที่มันอยู่ในร่างกายและสภาพแวดล้อมของอีกคนมันรักกันได้ยังไง? ซีนที่ตั้งคำถามนี้คือซีนที่มิซูฮะร้องไห้หน้ากระจกที่เรารู้สึกว่าเธออยากเป็นคนไปเดตกับรุ่นพี่มากกว่าจะหลงรักทากิ เราเลยรู้สึกว่าความรักในเรื่องมันคือความรักในร่างกายและแวดล้อมของอีกฝ่ายมากกว่าที่จะเป็นความรักระหว่างบุคคล คือมึงอาจไม่ได้รักกันจริงๆหรอก มึงแค่อยากได้ตัวตนของอีกฝ่ายมากกว่า การพยายามช่วยเหลือกันและกันก็เพื่อการรักษาสภาวะสลับร่างกันไว้มากกว่าจะเป็นความรักระหว่างกัน ซึ่งเราชอบประเด็นนี้มากๆ แต่ก็นั้นแหละช่วงท้ายของหนังมันกลับไม่ได้เป็นแบบที่เราคิด แต่ก็ถือว่าโชคดีที่หนังมันสามารถเอาประเด็นการหลงลืมมากลบความสงสัยใคร่รู้ของเราได้อย่างแนบเนียน แล้วเรื่องความรักสำหรับเราก็กลายเป็นภาพความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกับชนบทไป
องค์ประกอบอื่นๆก็ดีหมดจด เพลงดี ภาพเลอ ช่วงท้ายแม้จะยืดยาดแต่ก็ประคองได้อยู่มือทั้งๆที่มันง่ายที่จะทำให้คนอย่างเราเกลียด (ออ! เนื้อเพลงตอนเครดิตนี้ดีงามจนอยากกราบทั้งคนแต่งและคนแปล)
26/11/16 – Star Trek: Beyond (Justin Lin/ US/ 2016) – 2/5
– ประเด็นมันเชยชะมัด พอประเด็นมันไม่แรงมันเลยไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจเท่าไหร่ ได้แค่ไปสนุกกับแอ็คชั่นเป็นห้วงๆ
– ดีที่มันแชร์ความสำคัญไปให้ตัวละครอื่นๆบ้างโดยเฉพาะซูลู แต่กลับเสียดายที่พี่หมอกับสป๊อคดัน “วาย” ไม่ขึ้นเท่าไหร่ อิอิ
– เสียใจกับจัสติน ลิน ด้วยที่เข้ามาแทนพี่เจเจไม่ได้จริงๆ บั๊ย
26/11/16 – Lucy (Luc Besson/ US/ 2014) – 4/5
– ฟินน้ำแตก เมิงไปไกลมาก ทะเยอทะยานไปสุดขอบฟ้า ตัวอย่างอันดีของการโม้ให้ได้ดี
– ไอเดียหนังมันล้ำและแข็งแรงมากจริงๆ มากเสียจนอีพวกซีนแอ็คชั่นต่างๆนาๆนี่กลายเป็นส่วนเกินไปเลยเพราะมันไมได้ตอบโจทย์ใดๆอีกแล้ว (อีลูซีเทพซะขนาดนั้น) ยกเว้นเพียงแค่การทำให้รู้ว่าอีลูซี่ไต่ขึ้นไปถึงระดับไหนแล้วแค่นั้นแหละ
– ชอบไอเดียเรื่องเวลาที่สัมพันธ์กับการมีตัวตนและการส่งต่อความรู้ หากไร้ซึ่งเวลาแล้วไซร้ ตัวตนเราก็ไม่มีความหมาย สิ่งสูงสุดเลยมิใช่เพื่อความอยู่รอด แต่คือการถ่ายทอดความรู้ต่อยอดไป
– หนังสั้นดีด้วยและก็ชอบมาที่แม่งตัดจบไปเลย อารมณ์คนดูเลยเหมือนกำลังโดน CPH4 กระจายเข้าสู่ร่างกาย
– ดูจบแล้วคิดว่าคงต้องดู Transcendence ต่อเลย เชื่อมกันกลายๆ
27/11/16 – คน-โลก-จิต (นนทรีย์ นิมิบุตร/ ไทย/ 2012) – 1/5
– หนังพังเพราะนักแสดงจริงๆ พักในทุกระนาบ เล่นใหญ่ไม่ว่าแต่เสือกแข็งโป๊กด้วย จะมีผ่านก็คงมีแค่คนเดียวคือ บีม-ศรัณยู
– เข้าใจว่าหนังทริลเลอร์มันต้องมีทวิสต์ แต่มันก็ไม่จำเป็นต้องเยอะขนาดนี้ ทวิสต์กันยิบย่อยเหลือเกินจนหนังมันพังพินาศไป
– อดไม่ได้ที่จะไปเปรียบกับหนัง เฉือน ของก้องเกียร์ติ์ ซึ่งก็ห่างชั้นกันหลายขุมนัก
– จริงๆก็เสียดายตัวบทอยู่เหมือนกันในแง่ที่มันพูดถึงภาวะจิตอันบิดเบี้ยวของมนุษย์ การส่งทอดความบิดเบี้ยวจนเห็นโลกบิดเบี้ยว เราว่ามันน่าสนใจดี
28/11/16 – Don’t Breathe (Fede Alvarez/ US/ 2016) – 4/5
โอ้ย หัวใจจะวายตายเอา คือนอกจากการลุ้นฉิบหาย กลั้นหายใจรัวๆแล้ว วิธีการของหนังมันยังเวิร์คมาก โดยเฉพาะการที่กล้องเคลื่อนไหวไปตามตัวบ้านเพื่อให้ผู้ชมเห็นโครงสร้างของบ้านไว้ล่วงหน้าเลยเพื่อเอามาเป็นตัวเสริมในการช่วยลุ้นอีเหล่าเหยื่อทั้งสามว่ามึงมีทางเลือกอะไรบ้าง บลาๆๆๆ ซึ่งดีมาก
อีกส่วนคือตัวบท ยอมรับว่าการทวิสต์เรื่องในช่วงกลางมันรุนแรงดีเหมือนกัน แรกๆก็สงสัยว่ามึงจะเล่นซ่อนๆแอบๆแบบนี้ไปได้นานแน่ไหน จนมันทวิสต์เรื่องนี้แหละ ดีกรีความฉิบหายพุ่งเลย ผลคือคนดูได้ลุ้นต่อไป
แล้วหนังมันก็กลับด้านของเหยื่อกับผู้กระทำตลอดเวลา มันดีงามตรงที่ว่าเราไม่รู้จะเชียร์ใครดีเพราะความเลว-ดีมันพอๆกันเลย บ้างลุ้นให้มึงรอด บ้างก็อยากให้มึงตาย
เสียดายอยู่นึดนึงที่ในช่วงท้ายกลับมาอ่อนโอนใจดีไปหน่อย เหมือนโดนหักหลัง
ปล. ได้ไอดอลคนใหม่เมื่อยามแก่แล้ว สตีเฟ่น แลง
29/11/16 – 14+ (Andrei Zaitsev/ Russia/ 2015) – 5/5
กี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
ทำเอาจิกหมอน จิกเตียงตลอดเวลา โห พี่ครับ พี่จับโมเม้นต์วัยรุ่นเห่อหมอยได้อยู่หมัดจริงๆ ละเอียดทั้งในเรื่องกายภาพที่เป็นช่วงเวลาที่สภาพร่างกายผู้หญิงจะดูโตกว่าผู้ชาย และกับเรื่องรักแรกเอย อาการแอบรักแต่ก็กล้าๆกลัวๆเอย พี่ทำออกมาได้น่ารัก สดใส ซื่อตรงสมวัยจังเลย ยิ้มไปจี๊ดไป มีความสุขมากกก
แล้วพอมันเป็นหนังที่สมกับวัย พอมันจะมาพูดเรื่องเพศมันก็ไม่ทำให้มันดูยิ่งใหญ่หรือให้รู้สึกเงี่ยนใดๆ กลับออกมาแบบนิ่งเรียบงดงาม ซึ่งดีสัดๆ ชอบสุดๆ แถมพล๊อตรองของหนังก็แข็งแรกมากๆและเราก็ชอบมากๆเช่นกันอันว่าด้วยเรื่องของผู้เป็นแม่ที่ห่วงลูกมาก ภาวะสับสนในซีนท้ายอานุภาพรุนแรงมากจริงๆ ยิ่งมันตัดกับความนิ่งเรียบของการเติบโตของลูกชายแล้วยิ่งแรง รักมากๆๆๆๆๆ
ชอบช่วงเพลง Creep ในเรื่องสุดๆ ซีนกอดกันบนมอเตอร์ไซร์แล้วมองคนกอดกันในรถบัสนี่แรดมากแต่เราโครตชอบเลย งดงามสัดๆ แล้วอีซีนบนสะพานที่ได้แต่มองหน้ากันก็ดี โอ้ยยยยยย ซีน “Embrace me” ก็เอาตาย กี๊ดดดดดด
นางเอก Ulyana Vaskovich เลิศเลอเปล่งปลั่งสุดๆ (ใน IMDB มีเครดิตแค่เรื่องนี้เรื่องเดียวเอง อยากดูเธออีกจุง) ตัวแม่ Olga Ozollapinya ก็ดีสุดๆๆๆๆๆ
ติดท๊อปไม่ต้องสงสัย เสียดายมหาศาลที่ไม่ได้ดูในโรงเมื่อเวิร์ลฟิล์มปีที่แล้ว ฮือๆๆๆๆ
30/11/16 – Fantastic Beasts and Where to Find Them (David Yates/ US/ 2016) – 3/5
แม้พล๊อตหลักอันว่าด้วยสังคมแม่มดพ่อมดกับผลกระทบต่อมนุษย์โลกทั่วไป (พ่วงด้วยการบลับกันของเสรีอเมริกันกับผู้ดีอังกฤษ) จะน่าเบื่อให้เบ้ปากแรงๆ แต่หนังก็ดูได้เพลินๆ ดูการจับสัตว์มุ๊งมิ๊งๆ หรือกับซับพล๊อตของมักเกิ้ลร่างท้วมและมิติตัวละครของโกลด์สตีนที่น่าสนใจกว่าพล๊อตหลักรวมไปถึงตัวละครหลักอย่างสคาแมนเดอร์ในระดับหลายพันเท่า
เออ แล้วก็ชอบที่เอาน้องเอซร่ามารับบทนี้ อดคิดไม่ได้ถึงการต้องปกปิดพลังตุ๊ดไว้แล้วระเบิดมันออกมาให้ทั้งโลกได้เห็น ความเศร้าในบทสรุปของตัวละครนี้สำหรับเรามันเลยไปไกลกว่านั้น
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสิ่งที่จะจดจำได้มากที่สุดของหนังคือการปรากฏตัวของตัวละครลับตอนท้ายเรื่อง 555